รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การบริหารความเสี่ยงกับสัญญาณเตือนภัยของจุดอ่อนและการทุจริต
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.เมธา สุวรรณสาร
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารความเสี่ยง
2.การบริหารธุรกิจ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ 1.1การบริหารความเสี่ยง เป็นการบริหารเชิงรุก เน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไขปัญหา ดังนั้นการที่ผู้บริหารสถาบันการเงินสนใจ ติดตามสัญญาณเตือนภัยหรือจุดอ่อน ซึ่งตามมาด้วยการทุจริตและความเสียหายได้อย่างมีระบบ มีขั้นตอน ก็จะช่วยให้สถาบันการเงินมีต้นทุนในการบริหารและการจัดการนี้ลดลงได้ และจะเป็นส่วนหนึ่งที่น่าจะช่วยให้วสถาบันการเงินมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น มั่นคงขึ้นและได้รับความเชื่อถือยิ่งขึ้น เมื่อนำไปบูรณาการกับการบริหารความเสี่ยงด้านอื่นๆ ต่อไป การทุจริตเกิดขึ้นได้โดยมีปัจจัยหลักๆรวมกันเพียง 3ประการ คือ 1.ระบบงานมีจุดอ่อน 2.มีผู้ต้องการทุจิต 3.มีโอกาสจะทุจริต 1.2ในอดีตผู้บริหารสถาบันการเงินระดับต่างๆ ยังให้ความสนใจการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการอย่างจำกัด ไม่ว่าจะพิจารณาจากมุมมองของผู้กำกับและผู้บริหารสถาบันการเงินทั้งระดับในประเทศและของต่างประเทศและของต่างประเทศในบางหน่วยงาน 1.3 วัตถุประสงค์ในการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ข้อสังเกต ให้ข้อแนะนำอย่างสร้างสรร และเพื่อให้เกิดข้อคิดเหฌนที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อไป โดยใช้บทเรียนในอดีตและประยุกต์ใหม่ให้เป็นปัจจุบันมาเขียน เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินทุกแห่ง ได้เห็นภาพชัดเจนระดับหนึ่ง ในบทความนี้จะเน้นเพียงเรื่องการบริหารความเสี่ยง...ที่เกี่ยวข้องกับสถานการเงินที่ประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆได้ด้วย 1.4หากผู้บริหารสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ยึดติดกับความสำเร็จกับผลงานในอดีตและวิสัยทัศน์ยาวไกลพอที่จะใช้หลักการบริหารเชิงป้องกันปัญหาและเป็นบูรณาการ หรือการบริหารความเสี่ยง โดยสามารถชึ้ปัจจัยต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่องค์กรของตนไม่อาจยอมรับได้แล้ว ความเสียหายมหาศาลเป็นประวัติศาสตร์ของสถาบันการเงิน และของชาติเมื่อปี 2540 และมีผลถึงปลายปี 2546 และคงไม่มากมายถึงเพียงนี้ บทเรียนแสนแพง คงมีผู้บริหารสถาบันการเงินและองค์กรอื่นๆ อาจสนใจน้อยมาก ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ความเสียหายที่เห็นภาพชัดเจนโดยทั่วกันแล้ว ดังนั้น ความผิดพลาดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันการเงินและองค์กรอื่นๆ ในอนาคตไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก จากความเข้าใจการบริหารความเสี่ยงภายใต้กรอบการดูแลกำกับกิจการทีดี การสื่อสารที่ถูกต้อง และการปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างกล้าหาญ มุ่งมั่นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถาบันการเงิน ผู้กำกับ สังคม และผู้มีผลประโยชน์รวม 1.5การออกกฎหมายบังคับ และฟ้องร้องผู้บริหารคงใช้เวลาอีกนาน ดังนั้นวิธีการที่เหมาะสมก็คือ การกำหนดหน้าที่หรือชี้นำให้ผู้บริหารทุกระดับและกรรมการทุกชุดของสถาบันการเงินต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยง ให้มีขนาดของความเสียหายที่องค์กรยอมรับได้ ควบคุมได้ จัดการได้ ตรวจสอบได้ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเวลาที่ไม่มีเวลา และไม่มีสถานที่เหลือให้สำหรับกรรมการ และผู้บริหารสถาบันการเงินอีกในอนาคต ถ้ามีความผิดพลาดเกิดความเสียหายเกินขนาดที่ยอมรับได้อีก 1.6 รัฐบาล หน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่กำกับความมั่นคงของสถาบันการเงินอื่นๆ ก็ได้ตระหนักและมีความเข้าใจเรื่องสำคัญของการบริหารความเสี่ยงภายใต้มุมมองการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือธรรมาภิบาลขั้นพื้นฐานแล้ว ได้ดำเนินการสร้างรากบานขั้นต้นแล้ว คงเหลือแต่ความพร้อม ความเข้าใจจริง ทั้งหลักการสู่วิธีการปฏิบัติอย่างได้ผล จากทั้งหน่วยงานกำกับภายในและวัฒนธรรมทางความคิด การปฏิบัติ การดำเนินงาน มีการให้คุณให้โทษอย่างเหมาะสม โดยจัดให้มีการประเมินตนเอง เพื่อการบริหารและควบคุมความเสี่ยงที่ดี ยอมรับได้ในทุกๆ 6 เดือน จากบุคลากรภายในองค์กร และจัดให้มีการประเมินคุณภาพการบริหารความเสี่ยงโดยหน่วยงานภายนอกทุก 2 ปี ในขั้นตอน ขึ้นกับว่าเราตั้งใจจำทำกันจริงอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กรและทั่วทั้งประเทศ ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศหรือไม่เท่านั้น เพียงเดือนตุลาคม 2546 ภาวะเศรษฐกิจการเงิน การคลังของประเทศไทยดีขึ้นมาก สถาบันการเงินต่างๆมีแนวโน้มที่จะปรับฐานการเงินของตนให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น การดำเนินการของสถาบันการเงิน ควรจะได้รับบทเรียนบางส่วนที่อาจเกิดจากระบบงานมีจุดอ่อนให้เป็นประโยชน์ต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนักบัญชี
ปีที่ 50
ฉบับที่ 119 - 120
หน้าที่ 82 - 94
ปีพิมพ์ 2546
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6009
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)