รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง จริยธรรมของมนุษย์ในระบบทุนนิยม
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.จริยธรรม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี พ.ศ.2540 เป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดคาดคิดไว้ก่อนเพราะมิได้มีการเตรียมการใดๆที่จะรับมือไว้ จนอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงการปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว (Managed-Float or De-Facto Devaluation) ในวันที่ 2 กรกฎาคม ศกนั้น เมื่อถูกโจมตีค่าเงินบาทว่า “มีคนพูดถึงแผน แต่แผนอยู่ไหนล่ะ” เวลานั้นประชาชนถูกการโฆษณาหาเสียงชวนเชื่อจนมองโลกในแง่ดีว่า “ถึงเวลากินดีอยู่ดี” แล้วจึงใช้ชีวิตอย่างสบายๆ จนกระทั่งเมื่อเศรษฐกิจฟองสบู่แตก (Bubble Economy Burst) รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที จนเกิดความเสียหายจนกว่าที่คนมองโลกในแง่ร้ายจะจินตนาการได้ และขณะนี้ความเสียหายทางเศรษฐกิจ(Economic Woe) ยังไม่จบสิ้น การแก้ไขปัญหายังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กอปรกับเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะถดถอย นอกจากนี้ความโกลาหลทางเศรษฐกิจไทย (Economic Turmoil) ยังส่งผลให้อดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ค่าเงินและดัชนีตลาดหลักทรัพย์อ่อนตัวลงอย่างมากในหลายประเทศ โดยลามไปยังประเทศอาเซียน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลไทยต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) และจากประเทศอื่นๆเพื่อพยุงค่าเงินบาท เป็นประเทศแรก ตามด้วยอินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจ
ปีที่ 25
ฉบับที่ 93
หน้าที่ 57 - 68
ปีพิมพ์ 2545
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-233x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)