รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการออมหรือการลงทุนของผู้ออมในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง Household saving behavior and determinants of the forms of saving and investment in Thailand
ชื่อผู้แต่ง
1.ปิยรัตน์ กฤษณามระ
2.เมธินี วณิกกุล
3.นาถฤดี ศุภกิจจารักษ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การประหยัดและการออม
2.การประหยัดและการออม -- พฤติกรรม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ โครงการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการออมหรือการลงทุนของผู้ออมในประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลปฐมภูมิในมิติต่างๆ โดยการใช้แบบสอบถามที่ออกแบบโดยคณะผู้วิจัย สอบถามกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเชียงใหม่ นครราชสีมา ระยอง และสงขลา ทีี่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป และมีอายุตั้งแต่ 20 ปี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 844 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงระดับการออมและวัตถุประสงค์ในการออม รูปแบบการออม และปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออม และปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออม รวมทั้งศึกษาถึงความสอดคล้องระหว่างความรู้ความเข้าใจของผู้ออมในเรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทนกับรูปแบบการออมที่เลือก โดยให้ความสำคัญกับรูปแบบการออมผ่านตลาดทุนผลที่ได้จากการศึกษาจะทำให้เข้าใจถึงลักษณะ แนวคิด และปรัชญาในการออมและการลงทุน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในแารออมของผู้ที่มีเงินออมในประเทศไทย ซึ่งสามารถนำไปใช้พิจารณากำหนดและปรับปรุงนโยบายตลอดจนมาตรการต่างๆ ในอันที่จะเพิ่มปริมาณการออมและการลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออมผ่านตลาดทุนไทย จากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างของผู้ออมในประเทศไทยโดยเฉลี่ยมีการศึกษาในระดับปริญญาตรีและมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทนดี มีอายุโดยเฉลี่ย 47 ปี และมีรายได้ปานกลางจากการทำงานประจำ อัตราการออมเฉลี่ยร้อยละ 29.17 และสนใจการออมทุกรูปแบบ วัตถุประสงค์หลักในการออมคือ เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ ผู้ออมเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการลงทุนด้วยตัวเองโดยอาศัยข้อมูลจากบุคคลในครอบครัวและเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ออมเลือกลงทุนในรูปแบบการออมแบบดั้งเดิมที่ผู้ออมรู้จักดี ได้แก่ การฝากเงินธนาคาร การทำประกันชีวิต การซื้อทองรูปพรรณและ/หรือทองคำแท่ง และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ มากกว่าการลงทุนซื้อตราสารการเงินผ่านตลาดทุน ซึ่งได้แก่พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวม หุ้นกู้และหุ้นสามัญ อย่างไรก็ดี เมื่อผู้ออมทีรายได้เพิ่มขึ้นพบว่า มีแนวโน้มที่จะออมในรูปแบบดั่งเดิมลดลง และลงทุนซื้อตราสารการเงินในตลาดทุนมากขึ้น นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้ออมมีความเข้าใจดีว่าการลงทุนซื้อตราสารการเงินได้รับผลตอบแทนสูงแต่ก็มีความเสี่ยงสูง ต้องใช้เงินทุนมากและ มีความซับซ้อนเข้าใจยากจึงสนใจลงทุนน้อย ในการจัดสรรเงินออม ผู้ออมให้ความสำคัญต่อการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์มากเป็นอันดับหนึ่ง เนีื่องจากความต้องการมีที่อยู่อาศัยเพื่อความมั่นคงของครอบครัว และมีความเชื่อว่าการลงทุนประเภทนี้มีผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารการเงิน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 36
ฉบับที่ 139
หน้าที่ 19 - 45
ปีพิมพ์ 2557
ชื่อสำนักพิมพ์ ฝ่ายวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)