รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
A Simulation of the University League Table : Are you really what you are said you are ?
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การจัดอันดับ |
2. | การจำลองสถานการณ์ |
3. | การจัดอันดับมหาวิทยาลัย |
4. | ค่าน้ำหนัก |
5. | การจัดอันดับมหาวิทยาลัย |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | สถาบันอุดมศึกษา -- การประเมิน |
2. | การจัดอันดับและการคัดเลือก[สถิติ] |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในปัจจุบันนี้การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่าไงก็ตามก็ยังมีข้อโต้แย้งจำนวนมากในเรื่องค่าน้ำหนักของตัวตัววัดผลที่ใช้ในตารางการจัดอันดับ การปรับเปลี่ยนค่าน้ำหนักในการจัดอันดับบ่อยครั้งทำให้ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบอันดับของมหาวิทยาลัยได้ในแต่ละปีและเป็นการสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้ข้อมูลการจัดอันดับเนื่องจากจะเห็นปรากฏการณ์ในการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมากของมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่งทั้งที่มหาวิทยาลัยนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายนัก ด้วยเหตุนี้เองผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มที่จะไม่ให้ความสนใจในการจัดอันดับนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าอันดับของมหาวิทยาลัยสามารถปรับเปลี่ยนไปได้อย่างง่ายดาย
จากปัญหาดังกล่าว การศึกษานี้ได้ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณืเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลการจัดอันดับได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์มากที่สุด ในการศึกษานี้ได้เลือกการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ The Times ในปี 2553 เป็นกรณีศึกษา ค่าน้ำหนักของตัววัดผลทุกตัวในตารางการจัดอันดับได้ถูกเปลี่ยนแปลงพร้อมๆกัน โดยผลที่ได้รับค่าอันดับที่ดีที่สุดและแย่ทีุ่สุดของแต่ละมหาวิทยาลัยนอกจากนี้การศึกษานี้ยังได้แสดงค่าความน่าจะเป็นที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งสามารถจะอยู่ในอันดับที่กำหนด นอกจากนี้การศึกษานี้ยังได้นำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของมหาวิทยาลัยซึ่งจะเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบายของมหาวิทยาลัย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)