รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ |
2. | สมประวิณ มันประเสริฐ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | วิกฤตการณ์ซับไพรม์ |
2. | วิกฤตฟองสบู่ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | วิกฤตการณ์การเงิน |
2. | ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
วิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สร้างความปั่นป่วนให้กับภาคการเงินและเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรุนแรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นงานศึกษาชิ้นนี้จึงตั้งประเด็นเพื่อวิเคราะห์ถึงช่องทางส่งผ่านผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อระบบเศรษฐกิจไทย รวมถึงการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคเศรษฐกิจจริงภายในประเทศ
การส่งผ่านผลกระทบจากวิกฤตการณ์ซับไพรม์มายังระบบเศรษฐกิจไทยเกิดได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงินของประเทศไทย 2)ผลกระทบที่ส่งผลผ่านทางตลาดทุน และ 3)ผลกระทบที่ส่งผลผ่านการค้าระหว่างประเทศ งานศึกษาชิ้นนี้พบว่าผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่มีต่อภาคการเงินและสถาบันการเงินของประเทศไทยนั้นมีอย่างจำกัด ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันการเงินในประเทศไทยมีนโยบายในการปล่อยสินเชื่อและการลงทุนอย่างรัดกุม รวมถึงมีมาตรการควบคุมสถาบันการเงินอย่างเข้มงวดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1997 อย่างไรก็ตาม งานศึกษาชิ้นนี้คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่วิกฤตการณ์ซับไพรม์จะกระทบภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศไทยอย่างรุนแรง โดยส่งผ่านทางตลาดทุน และการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยส่งผลกระทบต่อสถานะทางสินทรัพย์ของภาคเอกชน (Wealth Effect ) และเพิ่มความผันผวนในตลาดทุนและระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกสูง จึงทำให้ผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ส่งผ่านผู้ผลิตขั้นกลางอยู่ในระดับที่สูงหากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศสหรัฐอเมริกาและอื่นๆ ดังนั้นวิกฤตการณ์ซับไพรม์ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศไทยได้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)