รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สิ่งบ่งชี้ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible asset)
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | มาตรฐานการบัญชี |
2. | สินทรัพย์ไม่มีตัวตน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี |
2. | สินทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน อาจจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สามารถระบุได้ เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า หรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่สามารถระบุได้ เช่น ค่าความนิยม ซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์แน่นอน ให้ตัดจำหน่ายตามอายุการใช้งานและประเมินการด้อยค่า โดยเริ่มตัดจำหน่ายเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมจะให้ประโยชน์ได้ ตลอดอายุการให้ประโยชน์ และต้องใช้วิธีเส้นตรงในการตัดจำหน่าย หากไม่สามารถกำหนดรูปแบบได้อย่างน่าเชื่อถือ และต้องทบทวนวิธีและระยะเวลาการตัดจำหน่ายทุกงวดปีบัญชีเป็นอย่างน้อย ส่วนสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่มีอายุการให้ประโยชน์แน่นอน ไม่ต้องตัดจำหน่าย แต่ต้องประเมินการด้อยค่า มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 51 กำหนดให้กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน แต่ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถวัดมูลค่าราคาทุน (มูลค่ายุติธรรม) ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจที่เป็นการซื้อได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือไม่เป็นไปตามคำนิยามและเกณฑ์การรับรู้ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ผู้ซื้อต้องไม่รับรู้สินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแยกต่างหาก ให้บันทึกรวมไว้กับค่าความนิยม สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในให้แบ่งออกเป็นขั้นตอนการวิจัยซึ่งต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เมื่อมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่จะทำให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเสร็จสมบูรณ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หรือนำมาขายหากกิจการต้องถือว่ารายจ่ายของโครงการภายในที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการวิจัยเท่านั้น ส่วนการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้เมื่อเริ่มแรกกิจการแสดงมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ตามที่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดไว้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)