รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง
ชื่อเรื่องรอง Strategies for develop competency active learning of elementary teachers on highland
ชื่อผู้แต่ง
1.สุพิษ ชัยมงคล
2.ทศพล อารีนิจ
3.สุชาติ ลี้ตระกูล
4.สุวดี อุปปินใจ
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
หัวเรื่องควบคุม
1. การเรียนแบบมีส่วนร่วม
2.การจัดการเรียนการสอน -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากการศึกษาเอกสารและการสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจำนวน 5 คน แล้วนำมากำหนดเป็นตัวแปรในแบบสอบถามเพื่อใช้สอบถามผู้บริหารและครูวิชาการโรงเรียนในพื้นที่สูงจำนวน 301 โรงเรียน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ของตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการการเรียนรู้เชิงรุก แล้วนำตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่สูงจำนวน 301 โรงเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้ไปเป็นฐานในการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงโดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยมีกลุ่มผู้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารและครูวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนเขตพื้นที่ละ 1 คน รวม 18 คน และกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีโรงเรียนในพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 15 คน เป็นผู้ตรวจสอบกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 49 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบหลัก ไดแก่ การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (2) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน ระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.66 ) เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาต่ำสุด ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ วิจารณ์ ( X = 2.46) สมรรถนะที่ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติมากกว่าการบรรยายความรู้ ( X = 4.31 ) (3) กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงประกอบด้วย (3.1) สร้างความรู้ ทักษะ ความตระหนักและเตคติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (3.2) พัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาตามตัวชี้วัด (3.3) เสริมสร้างความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (3.4) ยกระดับสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษา มศว
ปีที่ 10
ฉบับที่ 18
หน้าที่ 61 - 71
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1685-2257
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)