รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบน
|
ชื่อเรื่องรอง |
Management strategies of school in northern highland areas
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สมพิศ กาติ๊บ |
2. | สุรวดี อุปปินใจ |
3. | ทศพล อารีนิจ |
4. | สุชาติ ลี้ตระกูล |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารสถานศึกษา |
2. | โรงเรียน -- การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบน เก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบนโดยใช้แบบสอบ ถาม สอบถามผู้บริหารโรงเรียน วิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ส่วนที่เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมการบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบน ด้วยเทคนิค SWOT เพื่อวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม และประเมินสถานการณ์ขององค์กรโดยจับคู่รายการ TOWS Matrix กำหนดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน (ร่าง 1) นำไปให้ผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบนให้ข้อเสนอแนะ โดย จัดการสนทนากลุ่ม และปรับปรุงกลยุทธ์ ประเมินกลยุทธ์ โดยใช้แบบสอบถาม ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบน ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ภาพรวมมีสภาพปัจจุบันในการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.85 ) ด้านสภาพแวดล้อมภายในภาพรวมมีสภาพปัจจุบันในการบริหารอยู่ในระดับมาก ( X = 3.63) (2) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบนมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด ( X = 3.50) ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ คือ 1) สร้างเจตคติให้ครูและชุมชนให้มีความรักและผูกพันต่อโรงเรียนและชุมชนในเขตพื้นที่ภูเขาสูง 2) ปรับปรุงระบบการบริหารงานโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูง 3) ระดมทุนและทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารงานโรงเรียน 4) เร่งพัฒนาบุคลากรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การบริหารของโรงเรียน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)