รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กระบวนการสร้างความหมายและความเป็นจริงทางสังคมในตรรกะการบริโภคในเพลงไทยลูกทุ่งยอดนิยม
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พิมพ์ชญา ฟักเปี่ยม |
2. | กิตติ กันภัย |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | เพลงลูกทุ่ง |
2. | เพลงพื้นเมืองไทย |
3. | ผู้บริโภค |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยเรื่อง “ กระบวนการสร้างความหมายและความเป็นจริงทางสังคมในตรรกะการบริโภคในเพลงไทยลูกทุ่งยอดนิยม” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและความหมายในตรรกะการบริโภคของชนชั้นล่าง นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างความหมายและความจริงทางสังคมในตรรกะการบริโภค โดยใช้แนวคิดอย่างเล่าเรื่อง แนวคิดตรรกะการบริโภค แนวคิดสัญวิทยา แนวคิดการสร้างความเป็นจริงทางสังคม โดยวิธีการคิดวิเคราะห์เนื้อหาสารเพลงลูกทุ่งจำนวน 48 เพลง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตและการสนทนากลุ่มผู้ฟังเพลง ผลวิจัยพบว่า ตรรกะมูลค่าใช้สอยเป็นตรรกะที่พบมากที่สุดเป็นอันดับแรก พบความหมายในเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุด ส่วนตรรกะมูลค่าการแลกเปลี่ยนเป็นตรรกะที่พบรองลงมา พบความหมายเรื่องการทำงานแลกเปลี่ยนเป็นเงินมากที่สุด ตรรกะมูลค่าเชิงสัญญะเป็นตรรกะที่พบรองลงมาเป็นอันดับที่ 3 พบความหมายในเรื่องการแต่งกาย และการรับประทานอาหารมากที่สุด ตรรกะที่พบน้อยที่สุดคือตรรกะมูลค่าการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ พบความหมายในเรื่องการใช้สัญลักษณ์แทนความรวยและความจน คือ สัญลักษณ์รถยนต์กับรถมอเตอร์ไซค์มากที่สุด นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่าดารผสมผสานตรรกะการบริโภคอีกด้วย ส่วนเรื่องความหมายตรรกะการบริโภคของชนชั้นล่างระดับบนและชนชั้นล่างระดับล่างนั้นผู้วิจัยพบว่าชนชั้นล่างทั้ง 2 ระดับมีตรรกะมูลค่าการใช้สอยมากที่สุด แต่ชนชั้นล่างระดับบนพบตรรกะมูลค่าเชิงสัญญะมากกว่าชนชั้นล่าง
ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการทางสังคมความหมาย และความเป็นจริงทางสังคม มี 3 ส่วน โดยองค์ประกอบแรกคือผู้ผลิต โดยใช้พันธมิตรทางธุรกิจหรือการตลาดแบบพึ่งพาในการผลิตเพลง ศิลปิน และมิวสิควิดีโอเพลงโดยการแทรกโฆษณาสินค้าลงไปในเนื้อหาเพื่อประกอบสร้างความหมายและความเป็นจริง และผู้ผลิตใช้ทัศนคติเพื่อสะท้อนบุคลิกของศิลปินให้ตรงกับผู้บริโภค ส่วนที่สองก็คือส่วนของผู้บริโภค โดยสะท้อนความหมายและความเป็นจริงในเรื่องวิถีชีวิต ส่วนที่ 3 องค์กรของรัฐควบคุมการประกอบสร้างความหมายและความเป็นจริงของผู้ผลิต
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)