รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัถยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
|
ชื่อเรื่องรอง |
Consumer bahaviors and influential factors affecting the “brand” consumption of high school students in special tutorial schools in Pratumwan District. Bangkok
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | พฤติกรรมผู้บริโภค |
2. | ชื่อตราผลิตภัณฑ์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัถยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการตลาด ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน ซึ่งเคยบริโภคหรือกำลังบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มีจำนวน 405 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกหรือแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม /สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ (Chi-Square)
ผลการวิจัย พบว่า ในด้านพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีประสบการณ์บริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” น้อยครั้ง (3-5 ครั้ง) มีค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งน้อยกว่า 100 บาท ส่วนใหญ่รับประทานผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดชนิดน้ำสูตรต้นตำรับ มีความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 เดือน/ครั้ง และเหตุผลสำคัญที่รับประทาน คือ เพื่อบำรุงร่างกายและสมอง บุคคลในครอบครัวมีส่วนช่วยให้คำปรึกษาและช่วยตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มากที่สุด สำหรับช่วงเวลาที่รับประทานผลิตภัณฑ์คือ ช่วงใกล้สอบ โดยซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านค้าสะดวกซื้อ/เซเว่น อีเลฟเว่น และสื่อที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากที่สุด คือ สื่อทางโทรทัศน์ในการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการตลาด ปัจจัยด้านสังคม และวัฒนธรรมกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยทางการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่า ด้านสังคม (กลุ่มอ้างอิง) และด้านวัฒนธรรม (วัฒนธรรม,ชั้นสังคม) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)