รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
|
ชื่อเรื่องรอง |
The participation strategy of community and school in developing learning resources and applying of community in the wetlands of Tambon Chakpong Ampkor Klaeng Rayomg Province
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วิมล จันทร์ประภาพ |
2. | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ชุมชนกับโรงเรียน |
2. | การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
3. | การพัฒนาชุมชน -- การศึกษาเฉพาะกรณี |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ แนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา ผลของการปฏิบัติตามแนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา และสังเคราะห์ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมจากผลการปฏิบัติของชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ใช้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แกนนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารโรงเรียน ครูและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คนโดยเลือกแบบเจาะจง การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาความต้องการ แนวทางแก้ปัญหาของชุมชน และสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการ AIC และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผลการวิจัย
พบว่าสภาพปัญหาที่มีมากที่สุด ได้แก่ การบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ชุ่มน้ำ การเผาป่าความต้องการของชุมชนคือ การส่งเสริมให้ประชาชน และเยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ ทักษะ และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จากข้อมูลจริงและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ
แนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาโดยศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำของชุมชน และสถานศึกษา การแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาอย่างประชาธิปไตย และส่งเสริมให้ทุกคนร่วมเป็นหุ้นส่วนของความคิดในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และปรากฏผลของการปฏิบัติการมีส่วนร่วมดังนี้
ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมจากผลการปฏิบัติของชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ มียุทธศาสตร์ดังนี้ 1)การจัดการองค์ความรู้ของชุมชนและสถานศึกษาให้มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ 2)การส่งเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน 3)การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและพึ่งตนเองได้และ 4)การประเมินผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนา
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)