รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก
|
ชื่อเรื่องรอง |
The community based model for small size school administration
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ทิพยุตม์ กงกุล |
2. | สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | โรงเรียนขนาดเล็ก -- การบริหาร |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารสถานศึกษา |
2. | โรงเรียน -- การบริหาร |
3. | ชุมชนกับโรงเรียน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ด้วยวงจรปฏิบัติการเคมมิสและแม็คแทกการ์ท (Keemmis&McTaggart, 1998) สนามที่ผู้วิจัยศึกษาได้แก่ การศึกษานำร่องที่โรงเรียนบ้านทุ่งบอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 และเก็บรวบรวมข้อมูลจริงที่โรงเรียนวัดตันติการาม มิตรภาพที่ 109 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 3 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการใช้แบบสอบถาม โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มประชาชน และกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุฯภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสังเคราะห์รูปแบบเชิงองค์ประกอบ และตรวจสอบความความตรงของรูปแบบโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งให้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 486 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก มี4 องค์ประกอบคือ 1)การมีส่วนร่วมของคระกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2)การมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนและ 4) การมีส่วนร่วมการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน 2.ประสิทธิผลของรูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในระดับดี คือ (1) นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อโรงเรียนทามีการแข่งขันในอัตราสูง (2)การพัฒนานักเรียนให้มีทัศนะคติทางบวกสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (3) การปรับเปลี่ยนและการพัฒนาโรงเรียน ชุมชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่โรเรียนจักขึ้นสภาพแวดล้อมโรงเรียนสวยงาม (4) การแก้ปัญหาภายในโรงเรียน มีระบบ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม และความเป็นประชาธิปไตย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)