รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง : จากสถานศึกษาสู่ชุมชนยั่งยืน
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.สุเมธ งามกนก
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.เศรษฐกิจพอเพียง
คำอธิบาย / บทคัดย่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น เช้น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ (มูลนิธชัยพัฒนา,2553 ) ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี พ.ศ. 2540 ทรงได้มีมหากรณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า “…ความหมาย ของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ...” จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า “พอเพียง” เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง “พอมีพอกิน” “…พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี...” “…ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกินมาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ ...” ทรงเปรียบเทียบคำว่า พอเพียง กับคำว่า Self-Sufficiency ว่า “…Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง... เป็นไปตามที่เขาเรียกว่า ยืนบนขาของตัวเอง...” แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลถน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง...” “…ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล...” ได้มีพระราชกระแสเพิ่มเติมอีกว่า “ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐาน ของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อส้รางจะอยู่มั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วย ซ้ำไป”
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม
ปีที่ 7
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 6 - 17
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-2693
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)