รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้ประเภทเงินเดือน
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ขนิฐา นิลรัตนานนท์ |
2. | มนวิกา ผดุงสิทธิ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การชำระภาษีเงินได้โดยความสมัครใจถือเป็นหน้าที่ในการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม แต่เนื่องจากภาษีเป็นส่วนที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจึงอาจไม่เต็มใจที่จะเสียภาษี แต่ถ้าผู้มีเงินได้มีความพึงพอใจในมาตรการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ก็จะทำให้ผู้มีเงินได้มีความเต็มใจที่จะเสียภาษีโดยสมัครใจ และกรมสรรพากรเอกก็สามารถบริหารการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้หรือไม่ โดยกำหนดขอบเขตเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือน
ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในมาตรการสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้านต่างๆ ในระดับปานกลาง และความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์ด้านค่าลดหย่อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การลงทุน การออม และสังคมอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน สำหรับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศและสถานภาพสมรสไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ที่มีอายุน้อย หรือผู้ที่มีเงินได้สุทธิต่ำกว่า 150,000 บาท หรือ ผู้ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า ส่วนใหญ่จะมีความพึงพอใจในนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้จัดว่าเป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน เช่น การยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก เป็นต้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)