รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การจัดการน้ำท่วมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนรายได้น้อย
|
ชื่อเรื่องรอง |
The Local Wisdom on Flood Management in Low-income Communities
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร |
2. | อันธิกา สวัสดิ์ศรี |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การจัดการน้ำ |
2. | น้ำท่วม -- การแก้ปัญหา |
3. | น้ำท่วม -- การป้องกันและควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ชุมชนคลองบึงไผ่และคลองบัวขวัญตั้งอยู่บนพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม และมีปัจจัยความเปราะบางอื่นๆ เช่น ความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย รายได้ที่ไม่แน่นอน และกายภาพบ้านที่ไม่แข็งแรง เป็นผลให้ความสามารถในการจัดการน้ำท่วมของชุมชนอยู่ในระดับจำกัด อย่างไรก็ตาม ชุมชนก็มีความพยายามที่จะรับมือกับน้ำท่วมด้วยวิธีการต่างๆ จากการสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2555 ด้วยการทำผัง การถ่ายภาพ และการสัมภาษณ์ พบว่าชุมชนทั้งสองแห่งมีระบบการจัดการน้ำท่วมสองแนวทางคือ 1) การเตรียมรับมือเพื่ออยู่ร่วมกับน้ำ และ 2) การป้องกันน้ำ ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ 4 คุณลักษณะ คือ สภาพแวดล้อมที่เปราะบาง ระดับรายได้ที่ต่ำ ความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวในทางสังคมของชุมชน และการขาดความเตรียมพร้อมรับมือต่อภัยธรรมชาติ
ในแนวทางการเตรียมเพื่ออยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้โดยไม่ต้องย้ายหนี ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้ตกลงทำแปลงผักชุมชนทั้งลอยน้ำและลอยฟ้าทั้งยังเลี้ยงปลาเลี้ยงกบ กล่าวคือในยามปกติจะเป็นแหล่งรายได้ แต่ในช่วงน้ำท่วมแหล่งอาหารสดเหล่านี้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร ทั้งสองชุมชนมีแผนปรับปรุงศูนย์ชุมชนเป็นบ้านพักพิงชั่วคราวสำหรับคนแก่และเด็ก โดยติดตั้งถังน้ำดื่มขนาดใหญ่ ห้องน้ำและครัวกลางของชุมชนในระดับที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สำหรับแนวทางป้องกันน้ำท่วมแต่ละครัวเรือนจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น การใช้ผนังบ้านเป็นกำแพงกั้นน้ำ การยกพื้นบ้าน ส่วนในชุมชนมีการปรับระดับทางเดินหลักและสร้างสะพานเชื่อมเข้าสู่แต่ละบ้าน การขุดลอกคลองและทางระบายน้ำ เป็นต้น ชุมชนทั้งสองแห่งได้เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายสลัมสี่ภาคอันเป็นเครือข่ายของชุมชนรายได้น้อยที่ตั้งรกรากบนที่ดินของผู้อื่น เพื่อร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิการได้เช่าที่ดินได้ถูกต้องตามกฎหมายชุมชนทั้งสองแห่งเห็นตรงกันว่า การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยจะช่วยลดความเปราะบางต่อภัยพิบัติอย่างยั่งยืนได้ นอกจากนั้นแล้ว ชุมชนทั้งสองแห่งคาดหวังที่จะได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ซึ่งจะนำมาสู่การปรับปรุงกายภาพของบ้านที่ถาวร อันจะเป็นการช่วยลดความเปราะบางทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนมากขึ้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)