รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สิทธิ์ส่วนบุคคลออนไลน์ในประเทศไทย : ความตระหนักรู้เชิงกลยุทธ์/สาธารณะ
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.พิรงรอง รามสูต
2.โสภาค พาณิชพาพิบูล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
2.สิทธิส่วนบุคคล -- ไทย
3.สิทธิส่วนบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และกระแสของหลอมรวมนโยบายข้ามชาติ นำไปสู่การอภิปรายในประเด็นที่ว่า สิทธิส่วนบุคคลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสิทธิมนุษยชนสากลหรือไม่ และประเด็นที่ว่ากระบวนการอภิบาลอินเตอร์เน็ตโลก (Global Internet Governance) นั้น ควรจะมีการให้ความสำคัญเรื่องสิทธิส่วนบุคคลมากขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้นประเด็นด้านความจำเป็นของการมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนถึงสถานการณ์เรื่องสิทธิส่วนบุคคลในประทศไทยความตระหนักของสาธารณะต่อประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการตราและบังคับใช้กฎหมายตลอดจนการกำหนดนโยบายสาธารณะในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และตรงกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของการรับรู้ต่อประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของสังคมไทย ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ต่อประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลกับปัจจัยด้านลักษณะทางประชากร สถานภาพทางเศรษฐกิจ ทัศนคติทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาการรับรู้และความตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ในโปรแกรมสำเร็จรูปออนไลน์ต่างๆและ 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ของสมาชิกองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยต่อความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิส่วนบุคคลออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ในบริบทออนไลน์ ตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้และความตระหนักต่อสิทธิส่วนบุคคลออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น ระยะเวลาการใช้อินเตอร์เน็ต ความถี่ในการใช้อินเตอร์เน็ต และประสบการณ์การใช้อินเตอร์เน็ต มีอิทธิพลต่อการรับรู้และความตระหนักต่อสิทธิส่วนบุคคลออนไลน์ ในบริบทออฟไลน์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อสิทธิส่วนบุคคลในระดับสูง ภายใต้บริบทต่อไปนี้ ได้แก่ การลงคะแนนในคูหาเลือกตั้ง การเข้าตรวจค้นหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และสิทธิส่วนบุคคลทางกายภาพ (สิทธิที่จะอยู่โดยลำพัง) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อิทธิพลส่วนบุคคลในระดับต่ำ ภายใต้บริบทต่อไปนี้ ได้แก่ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ของลูกค้าโดยองค์กรธุรกิจ การสิอดส่องจากภาครัฐ เช่นการใช้บัตรประชาชนแบบ smart card ผู้นำองค์กรภาคประชาสังคมทั้งหมดมีทัศนะตรงกันว่า เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศ (information society) พร้อมกับการเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต ทำให้การรักษาสิทธิส่วนบุคคลก็เริ่มที่จะเป็นไปได้ยากมากขึ้นหรือเป็นไปไม่ได้ การแบ่งเขตแดนระหว่างเรื่องสาธารณะและเรื่องส่วนตัวก็ทำได้ยากมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งมีพลังในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในสังคม เมื่อข้อมูลข่าวสารได้ถูกตีพิมพ์ลงในโลกออนไลน์ ผู้ผลิต เนื้อหานั้นก็ได้สูญเสียอำนาจที่จะควบคุมเนื้อหานั้นอีกต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 31
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 131 - 150
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)