รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ประชาคมอาเซียนกับตลาดแรงงานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์(ยาบุชิตะ) |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประชาคมอาเซียน--ทรัพยากรมนุษย์ |
2. | ประชาคมอาเซียน--การบริหารทรัพยากรมนุษย์ |
3. | ประชาคมอาเซียน--ตลาดแรงงาน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
สิ่งแรกที่มักจะถูกกล่าวถึงเมื่อไทยต้องเตรียมพร้อม เพื่อเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมประเทศอาเซียน (ASEAN Community) ในปี 2558 ก็คือ การพัฒนา "คน"โดยที่หลายภาคส่วนทราบดีว่า "คน" คือจุดอ่อนที่สำคัญของไทยบทความนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกวิเคราะห์สภาพตลาดแรงงาน และผลิตภาพแรงงานโดยรวมของประเทศในอาเซียนของไทย ส่วนที่สองศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนกับการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทั้งแรงงานที่มีฝีมือและแรงงานที่ไร้ฝีมือ คาดว่าการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียนทำให้ได้เสรีมากขึ้น โดยเฉพาะใน 7 สาขาวิชาชีพที่มีข้อตกลงยอมรับร่วมกัน และในกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ พร้อมๆ กับโอกาสทางการตลาด ทางธุรกิจ และการลงทุนที่มาพร้อมกับรูปแบบการค้าแบบไร้พรมแดน ส่วนที่สามพิจารณาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทข้ามชาติสัญชาติไทย ที่ต้องยอมรับความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต เพื่องจากการเข้ามาทำงานของแรงงานอาเซียน การส่งผู้บริหารไปทำงานในต่างประเทศ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานท้องถิ่น ส่วนสุดท้ายสรุปเกี่ยวกับสิ่งท้าทายที่มีนัยยะสำคัญต่อประเทศไทย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)