รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง กระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.กุลธิดา อู่บูรณกุล
2.กาญจนา แก้วเทพ
หัวเรื่องคำสำคัญ
1. อาหารมังสาวิรัติ
2.กินเจ
หัวเรื่องควบคุม
1.อาหารเจ
2.มังสวิรัติ
3.ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
4.การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการสืบทอดองค์ประกอบของแระเพณีที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทชุมชนการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของประเพณี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ด้านประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต คนในท้องถิ่นทั้งกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ กลุ่มผู้ใหญ่ และกลุ่มเด็กและวัยรุ่น คณะกรรมการศาลเจ้าผู้ดูแลศาลเจ้า ฮวดกั้วหรือผู้ประกอบพิธีกรรม หน่วยงานภายนอก ได้แก่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า 1.บริบทชุมชนของจังหวัดภูเก็ตบริบทชุมชนเป็นต้นกำเนิดประเพณีถือศีลกินผัก นอกจากนี้บริบทชุมชนยังมีผลต่อการสืบทอดประเพณี กล่าวคือ ในอดีต บริทบชุมชน มีลักษณะเป็นเมืองขนาดเล็กมีผู้คนอาศัยไม่มากนัก คนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ส่วนครอบครัวก็พบว่า มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ชาวภูเก็ตสมัยก่อนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง และทำเหมืองแร่ดีบุก ทำให้มีเวลาว่างให้กับครอบครัวและมีเวลาร่วมงานประเพณี จึงทำให้คนสมัยก่อนมีส่วนร่วมในการสืบทอดประเพณีมาก แต่ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตถูกแปรสภาพเป็นเมืองใหญ่ คนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้นผู้คนมัลักษณะต่างคนต่างอยู่ จึงทำให้การมีส่วนร่วมในการสืบทอดมีความยากลำบาก 2.ประวัติและองค์ประกอบของประเพณี ซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดต้นไม้แห่งคุณค่า พบว่า รากของประเพณี ได้แก่ ความเชื่อ และหลักปฏิบัติซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ยาก ส่วนต้นได้แก่ ที่มา และอาหารเจ ซึ่งเป็นตัวค้ำจุนรากให้คงอยู่ และส่วนดอก ใบ ผล เช่น สถานที่ประกอบพิธีกรรม เครื่องแต่งกาย ประทัด เครื่องดนตรี ซึ่งเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทชุมชนได้ง่าย 3.กระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีในอดีตคนในท้องถิ่นมีการสื่อสารอย่างเรียบง่าย คือ ใช้วิธีบอกเล่าปากต่อปาก ทำให้ประเพณีไม่ผิดเพี้ยนมากนัก ส่วนปัจจุบันก็ยังมีการใช้วิธีเดิมในครอบครัว และมีหน่วยงานภายนอกอย่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเข้ามาสื่อสารประชาสัมพันธ์ อันเป็นผลใ้ห้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน 4.บทบาทหน้าที่ของประเพณีถือศีลกินผัก มีลักษณะเคลื่อนไหวไปตามบริบทชุมชน ในอดีตมีบทบาทหน้าที่หลายอย่างเช่น ด้านการรักษาโรคและที่พึ่งทางใจ ปัจจุบันมีบทบาทหน้าที่เพิ่ม เช่น การเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่บทอดประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 31
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 139 - 153
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)