รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวัดเสถียรภาพกำไรจากรายการนอกงบดุลของธนาคารไทยพาณิชย์ไทยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.เยาวรักษ์ สุขวิบูลย์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.เสถียรภาพกำไร
2.รายการนอกงบดุล
หัวเรื่องควบคุม
1.ธนาคารไทยพาณิชย์ -- กำไร
2.งบการเงิน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินอยู่หลายประเภท ที่ผู้ใช้งบการเงินสามารถเลือกใช้ในการประกอบการตัดสินใจลงทุน ซึ่งผู้ใช้งบการเงินจำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการในการวิเคราะห์ เครื่องมือบางประเภทใช้เพื่อการตรวจสอบสถานะทางการเงิน หรือวัดผลประกอบการของกิจการบางประเภทใช้เพื่อประเมนิสถานการณ์ต่างๆ หรือใช้เพื่อการพยากรณ์และคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าในอนาคต โดยการวัดเสถียรภาพกำไร ดังเช่นงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาไปที่การวัดเสถียรภาพกำไรจากรายการนอกงบดุลที่ปรากฏอย่างชัดเจนในงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากมีหนังสือเวียนของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ธปท.ฝนส.(21) ว.2395/2548 เรื่องแนวปฏิบัติในการกันเงินสำรองสำหรับรายการนอกงบดุล ให้มีผลบังคับใช้กับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ยกเว้นกิจวิเทศธนกิจของสาขาธธนาคารต่างประเทศ รวมถึงบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท ใช้บังคับตั้งแต่งวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือนหลังของปี 2548 เป็นต้นไป โดยมีเหตุผลในการออกหนังสือเวียนเกี่ยวเนื่องจากสถาบันการเงินมีการก่อภาระผูกพันซึ่งเป็นรายการนอกงบดุลในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นประกอบการสภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ฉบับที่ 53 เดิม) เรื่องประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดให้ถือปฏิบัติ กับงบการเงินหลังวันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงเห็นสมควรให้สถาบันการเงินมีการกันเงินสำรองสำหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุล เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว รายการนอกงบดุลที่สถาบันการเงินพึงกันเงินสำรองสำหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่เข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ 1. ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัยจะสูญ และสูญตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ที่กำหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ 2. ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่สถาบันการเงินควรรับรู้ประมาณการหนี้สินเป็นหนี้สินในงบดุลตามข้อ 14 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 (ฉบับที่ 53 เดิม) เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อ 3. ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตในระดับสูง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ในการคำนวณเงินกองทุนที่ต้องดำรงเท่ากับ 1.0 สำหรับอัตราส่วนในการกันเงินสำรองนั้น ให้สถาบันการเงินสำรองสำหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดลที่เข้าเงื่อนไขข้างต้นในอัตราเดียวกันกับอัตราการเงินสำรองของลูกหนี้รายเดียวกันที่ปรากฏในงบดุลกรณีที่ลูกหนี้ดังกล่าวมีหนี้หลายประเภทและหนี้แต่ละประเภทมีอัตราการกันเงินสำรองแตกต่างกันให้สถาบันการเงินกันเงินสำรองสำหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลโดยใช้อัตราเดียวกันกับการกันเงินสำรองสูงสุดของลูกหนี้รายนั้น เว้นแต่สถาบันการเงินสามารถแบ่งแยกที่มาของการชำระเงินของรายการภาระผูกพันนั้นได้ว่า เกี่ยวข้องกับหนี้บัญชีใดของลูกหนี้ ก็ให้สามารถกันเงินสำรองสำหรับภาระผูกพันในอัตราเดียวกันกับอัตราการกันเงินสำรองของหนี้บัญชีนั้นได้ จากหนังสือเวียนดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ารายการนอกงบดุลที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินนั้น น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ผู้วิจัยจึงเชื่อมั่นว่ารายการนอกงบดุลดังกล่าวนี้มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของกำไร ประกอบกับจากการปริทรรศน์วรรณกรรมพบว่า การวัดเสถียรภาพกำไรเกิดจากการวัดความสัมพันธ์ระหว่างกำไรของกิจกาจกับรายการคงค้างและกระแสเงินสด รวมทั้งรายการอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกำไร โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวัดเสถียรภาพกำไรจากรายการอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกำไรจากรายการนอกงบดุล ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประเทหนึ่งที่ใช้เพื่อการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตของกิจการ อย่างไรก็ดีความสามารถในการพยากรณ์ของตัวแบบที่สร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ อาจมีความสามารถในการพยากรณ์ได้ในลักษณะเฉพาะของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทยเท่านั้น เมื่อนำตัวแบบงานวิจัยดังกล่าวไปใช้ในสภาพแวดล้อมอื่นๆ อันมีลักษณะแตกต่างไปจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย อาจทำให้ผลลัพธ์ที่ได้นั้นแตกต่างกัน หรือไม่แม่นยำเท่าที่ควร จากเงื่อนไขของตัวแบบการวัดเสถียรภาพกำไร ที่เป็นการวัดความสัมพันธ์ระหว่างกำไรของกิจการกับรายการคงค้าง และกระเงินสด รวมทั้งรายการอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนของกำไร เช่น รายการนอกงบดุลที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินของกลุ่มสถาบันการเงินเป็นรายการที่แยกตัวออกมาจากรายการหนี้สินของกิจการ ซึ่งสาระสำคัญของแต่ละรายการมีผลต่อภาระผูกพันของกิจการอันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตผู้วิจัยจึงเชื่อมั่นว่ารายการนอบงบดุลที่ปรากฏอย่างชัดเจนในงบการเงินของกลุ่มสถาบันการเงินคือ รายการหนี้สินประเภทหนึ่ง งานวิจัยนี้จึงปรับแต่งตัวแบบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity analysis) ของรายการนอกงบดุล โดยการวิเคราะห์ความไวนี้ ใช้เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรายการนอกงบดุล กับหนี้สินที่ปรากฏอยู่ในงบดุล เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของความสัมพันธ์ระหว่างรายการดังกล่าว กับการเปลี่ยนแปลงของกำไรองกิจการนอกจากนี้ยังได้เสริมการวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ระหว่างกำไรของกิจการกับรายการนอกงบดุลแต่ละรายการอีกด้วย สำหรับงานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากอัตราการหมุนเวียนของการซื้อขายตามข้อมูลสถิติประจำปี (Fact Book) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า กลุ่มสถาบันการเงินนั้นมีอัตราการซื้อ-ขายสูงมาก เมื่อเทียบกับอัตราการซื้อ-ขายหมุนเวียนของกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆและเมื่อตรวจสอบสภาพการซื้อ-ขาย ประจำวันพบว่า หลักทรัพย์ของกลุ่มดังกล่าวนี้ติดอันดับการซื้อ-ขายที่หนาแน่นเป็นประจำทุกวัน เพราะมีผู้ให้ความสนใจในการซ้อ-ขายเป็นอันมาก และราคาหลักทรัพย์เฉลี่ยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับราคาหลักทรัพย์เฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า ในมุมมองของผู้ลงทุนนั้น กลุ่มสถาบันการเงินเป็นกลุ่มที่น่าลงทุน ด้วยอาจจะมีความเชื่อในความมีเสถียรภาพของการดำเนินงาน และผลตอบแทนจากการลงทุนของกลุ่มนี้ ประกอบกับมีหนังสือเวียนของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ธปท.ฝนส.(21)ว.2395/2548 เรื่องแนวปฏิบัติในการกันเงินสำรองสำหรับรายการนอกงบดุล ให้มีผลบงคับใช้กับธนาคารพาณิชย์ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการวัดเสถียรภาพกำไรจากรายการนอกงบดุลของธนาคารพาณิชย์ไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 6
ฉบับที่ 15
หน้าที่ 29 - 50
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์่และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)