รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฏีอรรถประโยชน์
|
ชื่อเรื่องรอง |
Utility theory
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในการตัดสินใจทางธุรกิจนั้น หลายครั้งผู้บริหารมักจะพบว่าทางเลือกในการตัดสินใจอาจจะมีมากมาย โดยในการตัดสินใจแต่ละครั้งนั้น ก็อาจจะทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามผู้ตัดสินใจอาจจะพิจารณาถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นและทำการตัดสินใจโดยอาจจะคำนึงถึงผลลัพธ์ที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์ทางการเงิน โดยสิ่งที่จะใช้เป็นสิ่งตัดสินว่าควนจะเลือกทางเลือกใดนั้นก็อาจจะมาจากการคำนวณค่าคาดหวังของผลลัพธ์ทางการเงิน หรือที่เรียกว่า Expected monetary value (EMV) โดยค่า EMV นี้นั้นจะสามารถคำนวณได้จากค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์ทางการเงินโดยถ่วงน้ำหนักด้วยความน่าจะเป็น 50% หรืออาจจะทำให้บริษัทขาดทุน 2 ล้านบาทด้วยความน่าจะเป็น 50% ค่า EMV ของทางเลือก A ก็จะเท่ากับ 0.5 x 5 + 0.5 x (-2) = 1.5 ล้านบาท ในขณะที่ทางเลือก B จะทำกำไรให้บริษัทได้ 4 ล้านบาท ด้วยความน่าจะเป็น 60% หรืออาจจะทำให้บริษัทขาดทุน 5 ล้านบาท ด้วยความน่าจะเป็น 40% ในกรณีนี้ทางเลือก B ก็จะมีค่า EMV เท่ากับ 0.6 x 4 + 0.4 x (-5) = 0.4 ล้านบาท ดังนั้นในกรณีนี้หากใช้ค่า EMV เป็นตัวสินใจนั้น เราก็ควรเลือกทางเลือก A เป็นต้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)