รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริการส่วนจังหวัด
|
ชื่อเรื่องรอง |
The Development of participative Model for Educational Administration of Provincial Administrative Organization
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | องค์การบริหารส่วนจังหวัด -- บทบาทและหน้าที่ |
2. | การจัดการศึกษา -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้และ (3) เสนอแนะการนำรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่พัฒนาขึ้นไปได้ใช้ปรกลุ่มประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้ง 75 แห่ง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นได้แก่ ผู้บริการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 225 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องเชิงลึก ได้แก่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาแบะผู้เกี่ยวข้องรวม 75 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนารูปแบบ 20 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบความตรงของรูปแบบ 5 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้เกี่ยวข้องที่ใช้ในการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต สนทนากลุ่ม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยควอไทล์และค่าความต่างของฐานนิยมและมัธยฐานเป็นสถิติในการวิเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แบบสร้างของสรุป ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในลักษณะ ได้แก่ การจัดการศึกษาด้วยตนเอง การร่วมจัดการศึกษา และการสนับสนุนการจัดการศึกษา ปัจจุบันร่วมในการจัดการศึกษาในระดับน้อยยกเว้นด้านการบริหารงานวิชาการและการบริหารงบประมาณที่มีส่วนร่วมระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมที่สำคัญคือ ระเบียบงบประมาณไม่เอื้อ ระบบงานประสานความร่วมมือไม่ชัดเจน ขาดข้อมูลความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษา และอบจ.
ยังไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา การแก้ปัญหาต้องจัดให้มีการทบทวนระเบียบว่าด้วยงบประมาณของ อบจ. จัดระบบความร่วมมือให้เป็นที่รับรู้ของผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีการศึกษาความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา สร้างความเข้าใจและชี้เหตุผลความจำเป็นที่ อบจ. ต้องร่วมการจัดศึกษา (2) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องการให้อบจ.มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในระดับมาก มีความต้องการในภาพรวม เกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการจัดการศึกษา การจัดระบบงานความร่วมมือ การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด การเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาของ อบจ. และสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น เสนอแนะให้สนับสนุนงบประมาณเพื่อการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้เรียนและประชาชน สนับสนุนงบประมาณตามภารกิจทั้ง 4 ด้านโดยอบจ. ต้องเป็นผู้ประสานการศึกษาระดับจังหวัด (3) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของ อบจ. เป็นรูปแบบวิธีการ พัฒนาขึ้นตามภารกิจด้านการศึกษาของ อบจ. และความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยยึด หลักการมีส่วนร่วม หลักความต้องการจำเป็น หลักภารกิจและกฎหมาย หลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และหลักยุทธศาสตร์ มีเป้าหมายประสงค์ให้เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการในการพัฒนาจังหวัดเป็นสำคัญ มีตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการใน 3 ยุทธศาสตร์ คือการจัดการศึกษาตรงความต้องการขำเป็นในการพัฒนาจังหวัด การร่วมจัดการศึกษาตามตามความต้องการของประชาชน และการสนับสนุนการจัดการการศึกษาที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องจัดการ รูปแบบนี้มีความตรงที่ IOC เท่ากับ .80 – 1.00 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก และ (4) การนำรูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปใช้ต้องจัดโครงสร้างการบริการและระบบงานความร่วมมือ ให้มีคณะองค์กรรับผิดชอบในการประสาน โยให้กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานการจัดการศึกษาสร้างค่านิยมร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดติดตามประเมินผลความร่วมมือและจัดการความเสี่ยงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)