รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของประเทศในกลุ่มอาเซียน
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | อาเซียน--การจักการโลจิสติกส์ |
2. | อาเซียน--โซ่อุปทาน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน--โลจิสติกส์ |
2. | ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน--โซ่อุปทาน |
3. | ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน--การแข่งขัน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของเขตการค้าเดียวในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีการเคลื่อนย้ายแัจจัยการผลิตอย่างเสรี นำปสู่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในภูมิภาค ด้วยเหตุผลนี้ไทยจะต้องพิจารณาถึงระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปัจจุบันเพื่อสะท้อนจุดแข็งที่จะนำมาใช้ประโยชน์และจุดอ่อนที่จะต้องพัฒนา โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์และโซ่อุทานที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในยุคไร้พรมแดน งานวิจัยได้เลือกดัชนีด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจากรายงานที่ประชุมสมัชชาเศรษฐกิจโลก 6 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพตลาดสินค้า ประวิทธิภาพตลาดแรงงาน ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ขนาดตลาดและความล้ำหน้าทางธุรกิจ จากผลการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในอาเซียนพบว่า ไทยจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งใน 0 ประเด็น คือ (1) คุณภาพโครงสร้างพื้นฐานทางด้านรถไฟ (2) ประสิทธิภาพของนโยบายป้องกันการผูกขาด (3) อัตราภาษีรวม (4) ภาระในกระบวนการด้านศุลกากร (5) ความสัมพันธ์ระหว่างค่าจ้างและผลิตภาพ (6) การซึมซับเทคโนโลยีของกิจการ (7)ระดับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม (8) ธรรมชาติของความไม่เปรียบชิงการแข่งขัน (9) ความล้ำหน้าของกระบวนการผลิต และ (10) การพึ่งพาผู้บริหารมืออาชีพ อันเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องเร่งยกระดับเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)