รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การกำกับดูแลเนื้อหาเว็บบอร์ดทางการเมืองภายหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.วราพงษ์ เทพรงค์ทอง
2.พิรงรอง รามสูต
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสารทางการเมือง
2.สื่อมวลชน -- แง่การเมือง
3.พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
4.คอมพิวเตอร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการกำกับดูแลเนื้อหาเว็บบอร์ด ทางการเมืองภายหลังมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550การดำเนินการทางคดีที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางเนื้อหา รวมทั้งเกณฑ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และกลั่นกรองเนื้อหาในเว็บบอร์ดทางการเมือง ทังในระดับภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรง ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตโดยตรง ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม และกองบังคับการกราบกรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากนั้นกฎหมายยังให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฯ ผลจากการประกาศใช้กฎหมาย ส่งผลให้บทบาทและแนวทางกำกับดูแลของภาคอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่ามีการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นเวลา 90 วัน ตามที่พระราชบัญญัติกำหนด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสืบสวนสอบสวนเมื่อเจ้าหน้าที่ภาครัฐร้องขอ อีกทั้งเพิ่มมาตรการในการกำกับดูแลตนเองมากขึ้น โดยเน้นการเฝ้าระวังและกลั่นกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่เข้าข่ายพาดพิงสถาบันและกระบทต่อความมั่นคงของประเทศ ขณะเดียวกัน การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติฯ พบว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ตามมาตรา 14มีจำนวนมากว่าคดีอื่นๆ โดยเฉพาะคดีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาทางการเมือง เนื่องจากมีการเฝ้าระวังและตรวจสอบ มากเป็นพิเศษจากหน่วยงานภาครัฐ เพราะเป็นความผิดที่มีลักษณะชัดแจ้ง สามารถตัดสินได้ด้วยวิจารณญาณ หรือจิตสำนึกของบุคลในสังคม ทำให้พบการกระทำความผิดได้ง่ายกว่าความผิดในเชิงเทคนิคอื่นๆ เช่น การเจาะเข้าสู่ระบบโดยมิชอบ หรือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 97-114
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)