รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
หลักสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ
|
ชื่อเรื่องรอง |
Corporate governance
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การควบคุมการบริหารองค์การ |
2. | บรรษัทภิบาล |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การกำกับดูแลกิจการหรือบรรษัทภิบาล (Corporate Governance : CG) เป็นเรื่องสำคัญซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสาธารณชน หน่วยงานกำกับดูแลและผู้บริหารขององค์กรกล่าวกันว่า การกำกับดูแลกิจการจะทำให้กิจการมีระบบการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ รวมทั้งมีการเปิดเผลข้อมูลที่โปร่งใสและมีผลการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพสร้างความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มพูลค่าแก่กิจการ ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
ในประเทศไทย ผู้คนเริ่มรู้จักกับคำว่า "การกำกับดูแลกิจการ" หรือ "บรรษัทภิบาล" สักสิบกว่าปีมานี้เอง หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2540 ก็เริ่มมีการตื่นตัว เรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง
เมื่อต้นปี พ.ศ.2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติขึ้น เพื่อให้การส่งเสริมบรรษัทบาลมีการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง และจัดเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ และรัฐบาลไ้ด้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ปี พ.ศ.2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การกำกับดูแลกิจการที่ดี
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)