รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความรักและกระบวนการสร้างความหมายความรักในตระกูลภาพยนตร์ไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ชโลทร โพยมยล |
2. | กิตติ กันภัย |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยเรื่อง “ความรักและระบวนการสร้างความหมายความรักในตระกูลภาพยนตร์ไทย” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายความรักในตระกูลภาพยนตร์ไทย และเพื่อศึกษาถึงกระบวนการสร้างความหมายความรักในภาพยนตร์ไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างภาพยนตร์ไทยทั้งหมด 27เรื่อง และแบ่งออกเป็นตระกูลภาพยนตร์ไทย 7 ตระกูล งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้แนวคิด การเล่าเรื่องและสัญวิทยาเป็นองค์ประกอบหลักในการวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบทและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าความหมายความรักที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ไทยมีความหลากหลายอยู่มาก โดยในภาพยนตร์รัก ภาพยนตร์ชีวิต ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์เพลง และภาพยนตร์วัยรุ่น มีการให้ความหมายความรักในแง่มุมเชิงบวกมากกว่าลบ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบด้านความรัก และการเรียนรู้ในเรื่องความรักของตัวละครในขณะที่ภาพยนตร์ต่อสู้ และภาพยนตร์สยองขวัญ มีการให้ความหมายในแง่มุมเชิงลบมากกว่าเชิงบวก โดยชี้ให้เห็นถึงความรักที่ขาดสติ และตั้งอยู่บนความไม่พอดีจนทำให้เกิดเป็นโศกนาฏกรรมและการสูญเสีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรักไม่ได้มีแต่ด้านที่สุขสมหวังเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าแง่มุมความรัก สามารถเข้าไปอยู่ได้ในภาพยนตร์ทุกตระกูลแต่แตกต่างกันที่รูปแบบและวิธีการนำเสนอ โดยตระกูลภาพยนตร์นั้นมีส่วนในการกำหนดทิศทางของความหมายความรักได้
ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนร่วมในการสร้างกระบวนการสร้างความหมายความรักในภาพยนตร์ไทย ได้แก่ องค์ประกอบ
ด้านการเล่าเรื่อง ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ได้แก่ องค์ประกอบด้านการเล่าเรื่อง ผู้สร้างภาพยนตร์ องค์ประกอบด้านภาพและองค์ประกอบด้านเพลงประกอบภาพยนตร์
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)