รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง บทบาทของการสื่อสารกับการสร้างและนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยนักเต้นบีบอยในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.จิราวรรณ นันทพงศ์
2.กาญจนา แก้วเทพ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การเต้นรำ
2.การสื่อสารกับวัฒนธรรม
3.อัตลักษณ์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการสื่อสารเพื่อการรวมกลุ่มภายในกลุ่มวัฒนธรรมนักเต้นบีบอย และบทบาทของการสื่อสารในการรวมกลุ่ม และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของการสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้นบีบอยและการนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้นบีบอยในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา โดยอาศัยการสัมภาษณ์เจาะลึก 30 คน จากพื้นที่ตัวอย่าง 4 พื้นที่ การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์เกี่ยวกับบีบอย 4 เว็บไซต์ มีขอบเขตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 ถึงเดือนมกราคม 2553 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักเต้นบีบอยจะเป็นผู้ชายเพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พละกำลังในการเต้น เป็นวัฒนธรรมของเด็กผู้ชายที่ชอบการต่อสู้ แข่งขัน แต่เป็นกลุ่มคนชนชั้นล่างที่ต้องการพื้นที่ในการรวมกลุ่มแสดงออกความสามารถของตัวเอง สำหรับบทบาทของการสื่อสารในการรวมกลุ่มใช้สื่อ 4 ประเภท คือ สื่อบุคคล สื่อสมัยใหม่ สื่อกิจกรรม และสื่อมวลชน และอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้นบีบอยแสดงออกใน 2 แบบคือ 1) ทางวัจนภาษา ได้แก่ ฉายา 2) อวัจนภาษา ได้แก่ ภาษาท่าทาง/การเต้น และพื้นที่ แต่ที่โดดเด่นคือการต่อสู้ทางอัตลักษณ์ คือการต่อสู้เรื่องการเต้นและการต่อสู้ทางพื้นที่ ส่วนการสื่อสารภายในกลุ่มนักเต้นบีบอย และการสื่อสารของกลุ่มนักเต้นบีบอย และการสื่อสารของกลุ่มนักเต้นบีบอยกับภายนอกใช้สื่อต่างๆ 5 ประเภท คือ สื่อบุคคล สื่อสมัยใหม่ สื่อกิจกรรม สื่อวัตถุ และสื่อมวลชน บทบาทของสื่อในการสื่อสารภายในกลุ่มและการสื่อสารกับภายนอก แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) บทบาททางด้านสารสนเทศ 2) ในการมีปฎิสัมพันธ์กับสังคม 3) บทบาทในการสร้างและนำเสนออัตลักษณ์ให้แก่กลุ่ม 4) บทบาทด้านความบันเทิง นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่าการรวมกลุ่มของกลุ่มนักเต้นบีบอยคือการสร้างพื้นที่ทางพิธีกรรมทางศาสนาในสังคมสมัยโบราณ กิจกรรมการแข่งขันที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่นี้เป็นการตอบสนองความต้องการการยอมรับและต้องการต่อสู้ต่อรองอำนาจจากสังคมผ่านการเต้นที่เป็นอัตลักษณ์ในตัวเองของกลุ่มนักเต้นบีบอย รวมถึงการต่อสู้พื้นที่ เพื่อให้ได้พื้นที่ในการแสดงอัตลักษณ์ภายในกลุ่มและนำเสนอสู่สายตาคนภายนอก
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 31-53
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)