รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อของกลุ่มสมาชิก เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องรอง A Survey for further study desire of members and Officer among Sub – District Administration Organization, Provincial Administration Organization and municipality in Chiang Mai province
ชื่อผู้แต่ง
1.กาญจนา สมมิตร
2.จิณห์นิภา สุทธิกุล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล -- การศึกษาต่อ -- วิจัีย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการการศึกษาต่อของกลุ่มสมาชิก และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สมาชิกและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง รวม 32 แห่ง โดยทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่/ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 14 แห่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1 แห่งเทศบาล 17 แห่ง รวมทั้งสิ้น 624 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์คิดว่าความรู้ความสามารถทางด้านการบริหารจัดการมีความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.87 รองมาด้านกฎหมาย คิดเป็นร้อยละ 33.49 และด้านการเงินบัญชี เทคนิควิชาการด้านต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 20.51 เป็นต้น ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจศึกษาเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้น/ใบประกาศนียบัตรโปรแกรมภาษาอังกฤษมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.81และรองมา โปรแกรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-commerce) คิดเป็นร้อยละ 21.63 ช่วงระยะเวลาที่สนใจในการศึกษาต่อหลักสูตรระยะสั้น/ใบประกาศนียบัตรภายใน 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 44.39 และสะดวกเรียนช่วงเวลาวันเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 75.80 หลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 14 สาขา สาขารัฐประศาสนศาสตร์เป็นหลักสูตรที่ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเรียนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 22.28 รองมา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 17.63 และสาขาวิชาบัญชีคิดเป็นร้อยละ10.26 ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเรียนหลักสูตรปริญญาตรีที่สามารถเทียบดอนประสบการณ์คิดเป็นร้อยละ 67.79 หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นหลักสูตรที่ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ34.13 รองลงมาสาขาวิชาบัญชี คิดเป็นร้อยละ 34.14 ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเรียนหลักสูตรปริญญาโทที่สามารถเทียบโอนประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 78.52 เหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องการศึกษาต่อเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 69.39 รองมาเพื่อพัฒนาองค์กรคิดเป็นร้อยละ 23.40 ผู้ให้สัมภาษณ์มีความพร้อมที่จะศึกษาต่อในด้านที่ต้องการระดับปานกลางถึงระดับมาก
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 4
ฉบับที่ ฉบับพิเศษ
หน้าที่ 32 – 39
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9590
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)