รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
มิติใหม่แห่งการศึกษา
|
ชื่อเรื่องรอง |
Edutainment
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ธีรารัตน์ รัตนวิสุทธ์อมร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | นวัตกรรมทางการศึกษา |
2. | เทคโนโลยีการศึกษา -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในกระบวนการที่ทำให้เรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีหลากหลายวิธีในการเรียนรู้ นักการศึกษาได้คิดค้น
ทฤษฎีใหม่ๆขึ้นมาอย่างมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สูงสุดและสนับสนุนในด้านความแตกต่างในการเรียนรู้ระหว่างบุคคล นอกจากนี้ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญรุดหน้าและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ รูปแบบการเรียนการสอนจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นที่จะต้องรอเพียงแค่การถ่ายทอดความรู้จากครูหรืออาจารย์ผู้สอนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่สามารถจะดึงดูดและทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกสนใจในบทเรียนซึ่งมีแต่ตัวหนังสือหรือเนื้อหาที่น่าเบื่อ และเมื่อหันกลับไปมองในภาคส่วนที่เป็นการบันเทิงต่างๆคนส่วนใหญ่กลับให้ความสนใจและรับรู้ในสิ่งเหล่านั้นได้มากกว่าทั้งๆที่ไม่ให้ องค์ความรู้เท่าใดนัก สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้นักการศึกษาหลายๆคน หันกลับมามองถึงประโยชนของความบันเทิงที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้คน จึงได้นำเอาสิ่งเหล่านั้นมาประยุกต์เข้ากับทฤษฎีการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างเช่น การใช้สื่อการสอนที่เปลี่ยนรูปแบบจากหนังสือที่สามารถสัมผัสได้ไปเป็นรูปแบบดิจิตอลซึ่งสามารถแทรกสื่อมัลติมีเดียต่างๆ เพื่อเพิ่มความสนใจเข้าไปได้อีกทั้งยังสามารถเข้าใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทำให้การเข้าถึงในการเรียนเพิ่มขึ้นมากขึ้น เช่น E-book E-learning การใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นสื่อสำหรับการเรียนรู้ การเรียกใช้ไฟล์คลิปวิดีโอ YouTube เพื่อเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ต่างๆเป็นต้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังสู้ไม่ได้กับเกมออนไลน์ที่เด็กและเยาวชนในปัจจุบันได้ให้ความสนใจจนถึงขั้นที่เรียกว่า “ติดเกม” เป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าในหลายๆสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน สื่อที่เป็นลักษณะของเกมจะได้รับความสนใจจากผู้เรียนเป็นอย่างมากและสามารถอยู่กับการเรียนรู้ในลักษณะนี้ได้ในระยะเวลาที่ยาวนานกว่าการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)