รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความสอดคล้องระหว่าง ”ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) และ “การนำประเทศไทยไปสู่ความเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Thailand)”
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | เศรษฐกิจพอเพียง -- แง่การศึกษา -- วิจัย |
2. | การสร้างสรรค์ทางธุรกิจ |
3. | นวัตกรรมทางธุรกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
เศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) เป็นรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจที่รัฐต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่า (Value Creation) ของสินค้าหรือการบริการต่างๆ ของธุรกิจที่มีศักยภาพพอที่จะทำการผลิตภัณฑ์ในลักษณะที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์คือ ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Product) โดยรัฐบาลไทยได้นำแนวคิดดังกล่าวเข้ามาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ โดยมีการระบุอย่างชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554) และมีการกำหนดโครงการ (Creative Thailand) สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ( Thailand Creative & Design Center) และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)(The Office of Knowledge Management and Development) ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์(Creative Industries) ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย(ศูนย์สร้างสรรค์ออกแบบ และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้)(องค์การมหาชน),2553) โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทในการกำหนดกรอบการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะที่2: SP2
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) แก่ปวงชนชาวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่สู่สาธารณะชน เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป ถึงแม้ว่าทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะมีความแตกต่างกันในเชิงกระบวนการ แต่จาก
การวิเคราะห์ ข้อเสนอของ ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในเรื่อง 4 องค์ประกอบที่เป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อรัฐบาลซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบต่างๆคือ Creative Generation, Creative Industry,
Creative Space และ Creative Cooperation เมื่อมาศึกษาโดยละเอียดแล้วกลับพบว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องในแง่ของการสร้างรากฐานให้แก่ทั้ง 4 องค์ประกอบอย่างมั่นคงและกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาลอย่างยั่งยืน จึงสามารถอนุมานได้ว่าการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้ง การบริหารงานระดับองค์กรและบริหารประเทศ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)