รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กระบวนการปรับแปลงความหมายของ “เหล้า” ในพิธีกรรมงานศพ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย |
2. | กาญจนา แก้วเทพ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนเสนอสถานภาพของพิธีกรรมงานศพและกระบวนการปรับแปลงความหมายของ “เหล้า” ในพิธีกรรมงานศพของชุมชนบ้านดง เนื้อหาต่างๆ ที่ปรากฏในบทความเป็นข้อมูลและองค์ความรู้จากการศึกษาโครงการงานศพงดเหล้าของชุมชนบ้านดง อ.สบปราบ จ.ลำปาง โดยเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งจากการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “กระบวนการสื่อสารเพื่อปรับแปลงความหมายในพิธีกรรมงานศพ” ผู้เขียนเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนบ้านดง ผ่านการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร รวมถึงการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. สถานภาพของพิธีกรรมงานศพในระยะที่ 1 เป็นพื้นที่ของปัจเจคและเป็นชุดสัญญะเพื่อหน้าตาของเจ้าภางานศพ
2. สถานภาพของพิธีกรรมงานศพในระยะที่ 2เป็นพื้นที่ของชุมชน ละเป็นชุดสัญญะเพื่อแสดงความเอื้ออาทรต่อเจ้าภาพงานศพและความร่วมมือของชุมชน
3. สถานภาพของพิธีกรรมงานศพในระยะที่ 3 ยังคงเป็นพื้นที่ของชุมชนและเป็นชุดสัญญะแสดงความเอื้ออาทรและความร่วมมือของชุมชน และยังมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นฐานะสัญญะเพื่อแสดงอัตลักษณ์ “ชุมชนปลอดเหล้า”
4. กระบวนการปรับแปรงความหมายของเหล้าในโครงการงานศพงดเหล้า ประกอบด้วยการประณีประนอมกับความหมายนัยของเหล้าในฐานะสิ่งตอบแทน ผู้มาร่วมงาและสิ่งเชื่อมโยงผู้คน การรื้อถอนมายาคติของเหล้าและงานศพในฐานะสัญญะและชุดสัญญะเพื่อแสดงฐานะหน้าตาทางสังคมของปัจเจก และการเปลี่ยนความหมายของพื้นที่พิธีกรรมงานศพจาการเป็นพื้นที่ของปัจเจกมาเป็นพื้นที่ของชุมชน
5. แนวคิดสนับสนุนให้กระบวนการปรับแปลงความหมายของเหล้าเกิดขึ้นคือการเปลี่ยนมุมมองใหม่จากการเน้นจุดยืนของเจ้าภาพงานศพ (ต้องรับรองแขกให้ดีที่สุด) มาที่การปรับจุดยืนของแขกผู้ร่วมงาน (ควรเห็นใจเจ้าภาพ)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)