รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | รักศาสต์ วิวัฒน์สินอุดม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | อุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่น |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | อุตสาหกรรมภาพยนตร์ -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติ เป็นการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ แล้วนำผลการวิเคราะห์มาจัดทำการระดมความคิด (Focus Group) จากภาครัฐ ผู้ประกบการ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
สรุปผลจากการสวิจัยพบว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั้นของไทยยังมีจุดอ่อนในด้านความพร้อมของการผลิต เช่น การลงทุนมีขีดจำกัด ขดความต่อเนื่อง ปริมาณการผลิตมรน้อยคุณภาพการผลิตยังไม่ทัดเทียมกับต่างประเทศที่เป็นผู้นำ ส่งผลให้การตลาดไม่เสถียรและไม่สามารถสร้างส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในต่างประเทศได้ นอกจากนี้ต้องมีการพัฒนาในการเล่าเรื่องที่ดี ผู้ชมในประเทศยังมีทัศนคติต่อการชมภาพยนตร์แอนิเมชั่นว่า เป็นหนังสำหรับเด็กเท่านั้นจึงควรเพิ่มช่องทางการฉายให้มากขึ้น ปัญหาการละเมินลิขสิทธิ์ที่รัฐยังไม่สามารถขจัดปัญหาได้ ความช่วยเหลือของภาครัฐยังไม่สอดประสานกับความต้องการของผู้ประกอบการ การเรียนการสอนยังไม่ถูกทิศทางและรัฐต้องแก้ปัญหาเรื่องซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ที่มีราคาแพง แต่เป็นสิ่งที่เป็นจุดแข็ง คือ ผู้ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยมีพรสวรรค์ มีความสามรถ มีความอดทน มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และมีฝีมือในงาน ด้านการผลิตขั้นตอนหลังการถ่ายทำ (Post-production)
การกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียทั้งในด้านการผลิต การจัดจำหน่าย และการฉายโดย้องทำร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ผลิตภาพยนตร์และบุคลากรหน้าที่ต่างๆทุกด้าน เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สามารถนำรายได้เข้าประเทศ สร้างผู้จัดจำหน่ายในธุรกิจให้เพียงพอ และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย เพิ่มกลุ่มผู้ชมให้หลากหลายกลุ่ม
การพัฒนาบุคลากรให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยทั้งในระบบการศึกษาและการฝึกอบรม ศึกษาด้านการตลาดทั้งในประเทศและตางประเทศให้ชัดเจนทุกด้านเพื่อผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นให้ตรงตามความต้องการของการตลาดมีหน่วยงานเฉพาะที่สามารถกำหนดนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชันได้อย่างเบ็ดเสร็จเพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการส่งเสริม พัฒนา และการดำเนินการทุกด้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศต่างๆร่วมมือกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมแอนอมชัน เพื่อผลิตงานที่มีคุณภาพ พัฒนาบุคลากรให้มีความชำนาญตามสาขาที่เชี่ยวชาญ ร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเกชนในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น สร้างมาตรฐานการทำงาน พัฒนาเนื้อหา ที่สร้างสรรค์ (Creative Content) และงานจากต่างประเทศ (Outsourcing) ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อผลักดันกลไกทางการตลาดเปิดตลาดทางด้านวัฒนธรรมของประเทศ สร้างกลุ่มคนดูในประเทศให้มากขึ้น เพิ่มช่องทางการฉาย สร้างความหลากหลายของสินค้าแอนิเมชัน ร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพเพื่อหาโอกาสทางการตลาดและทำความเข้าใจกับตลาดต่างประเทศและตลาดโลกสนับสนุนนโยบายเดียวกันกับภาครัฐ และเอกชนหน่วยงานที่ให้งานสนับสนุนควรเป็นทิศทางเดียวและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ควรกระจายให้ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านการเงิน และการพัฒนาศักยภาพทุกด้าน สร้างภาคเอกชนให้มีความเข้มแข็ง สนับสนุนให้มีงานด้านหนังสือการ์ตูน (Comics) มากขึ้น เพื่อนำมาเป็นเนื้อหา (Content) ของภาพยนตร์ พัฒนาการออกแบบลักษณะตัวการ์ตูน (Character) สร้างให้เกิดการยอมรับในด้านวัฒนธรรมของแอนิเมชัน ไทยและเชื่อมโยงการผลิตกับทุกระบบที่เกี่ยวข้อง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)