รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง อิทธิพลของสื่อต่างๆ ต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงระหว่างประชาชนในกรุงเทพมหานคร และชนบท
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.มลินี สมภพเจริญ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสาร -- แง่อนามัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องอิทธิพลของสื่อต่างๆ ต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงระหว่างประชาชนในกรุงเทพมหานคร และชนบท ด้วยวิธีการสำรวจและการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1500 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างมาตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจำนวน 751 คน และกลุ่มมาตรวจคดกรองโรคหัวใจจำนวน 748 สำรวจผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขั้นไป และสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย จำนวน 62 ราย แบ่งเป็น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเรื่องหัวใจจำนวน 43 รายและผู้ให้ข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งจำนวน 19 ราย ผลการสำรวจพบว่า แต่ละภูมิภาคผู้หญิงมักตรวจหาโรงมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชายมาตรวจหาโรคมะเร็งปอด ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งพบว่า คนที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครคิดว่าตนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากว่าคนชนบท แต่เมื่อพิจารณาแล้วความถี่ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งพบว่า คนกรุงเทพฯ มาตรวจคัดกรองโรคมะเร็งน้อยกว่า ด้านการเปิดรับสื่อ สื่อที่สำคัญมีการติดตามชมมาก และมีอิทธิพลส่งผลส่งผลต่อการตัดสินใจมาตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ได้แก่ รายการพบหมอศิริราชมาก จะยิ่งมีพฤติกรรมในการตรวจหาโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยยังสามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดความวิตกกังวล ในการสงสัยว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ดังนี้ สมาการพยากรณ์ผู้วิตกกังวลในโรคมะเร็ง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง= 3.928+0.506 ที่อยู่อาศัยปัจจุบันในกรุงเทพมหานคร +0.916 ความกังวล+0.232 ปัจจัยที่ทำให้มาตรวจมะเร็ง ได้แก่ การพบปุ๋มก้อนเนื้อผิดปกติ-0.165 ปัจจัยที่ทำห้าตรวจมะเร็งได้แก่ ตรวจสุขภาพเป็นประจำอยู่แล้ว+0.041 จำนวนที่สูบบุหรี่(มวน/วัน)+0.037 คะแนนรวมความเครียดสวนปรุง-0.094 ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง-0.035 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ มีค่า R square=27.0 สมการพยากรณ์ผู้วิตกกังวลในโรคหัวใจ กี่รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ=0.192+0.225 ปัจจัยที่ทำให้มาตรวจ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง+0.298 ปัจจัยที่ทำให้มาตรวจได้แก่ การมีพฤติกรรมชอบทานอาหารมันๆ+0.037 คะแนนรวมความเครียดจากแบบทดสอบความเครียดสวนปรุง+0.159 การเปิดรับรายการพบหมอศิริราช (ช่อง7) -0.123 การเปิดรับนิตยสารพบหมอชาวบ้าน +0.104 การพูดคุยกับพยาบาล มีค่า R-square=23.5 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ข้อมูลขากผู้ให้ข้อมูลที่เป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ระบุว่าสำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯพบว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครมาตรวจเพราะพิจารณาจากอาการของตนเอง ประกอบกับข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นที่ค้นหาจากแหล่งต่างๆซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับอาการเตือนของการเป็นโรคมะเร็ง ทำให้เกิดความวิตกกังวล สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองจะเป็นโรคหัวใจ สำหรับผู้ที่มาตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่กรุงเทพและชนบทจะมีลักษณะคล้ายกัน โดยพบว่า เพศหญิงจะมีความใส่ใจสุขภาพดูแลสุขภาพมากกว่าเพศชาย และมักเป็นคนที่มีลักษณะวิตกกังวลอยู่ในวัยทำงาน สื่อที่เปิดรับและมีผลต่อการกระตุ้นให้มาตรวจ คือจากญาติหรือเพื่อนบ้าน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 96-117
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)