รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง วาระข่าวสารและทิศทางเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมที่นำเสนอผ่านหนังสือพิมพ์ในยุครัฐบาลทักษิณ และหลังรัฐบาลทักษิณ
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.นพวงษ์ มังคละชน
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสารทางการเมือง -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ปรากฏการณ์นโยบายประชานิยม กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย เมื่อพรรคไทยรักไทย ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ได้ประกาศใช้ “นโยบายที่เข้าถึงคนจน” หรือที่รู้จักกันดีในฐานะ “นโยบายประชานิยม” หรือนโยบาย Populism เป็นตัวชูโรง และเป็นเครื่องมือหวังเก็บคะแนนเสียงในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2544 ก่อน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะได้รับชัยชนะการเลือกตั้งครั้งนั้น คำว่า Populism หรือ populist แทบไม่มีใครใช้กันในวงกิจการ ในสื่อมวลชน หรือในสังคมกว้าง คำว่า Populism เขียนเป็นภาษาอังกฤษในความหมายเชิงลบแบบละตินอเมริกา และถูกนำมาประยุกต์ใช้เรียกนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในเชิงวิพากษ์หรือติเตือนนั้น เริ่มจากนิตยสาร ฟาร์อิสเทอร์น อีโคโมมิก รีวิว (Far Eastern Economic Review) ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2544 ในเวลาหลังการเลือกตั้งไม่นาน ในช่วงเวลานั้น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเวทีอภิปรายขึ้น โดยพิชิต ลิขิตถาวร และนิพนธ์ พัวพงศกร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แปล Populism ว่า “ ประชาชนนิยม” นับตั้งแต่นั้นมาคำว่า “ประชาชนนิยม” ก็ใช้กันอย่างแพร่หลายในเชิงวิพากษ์วิจารณ์เป็นหลัก อย่างไรก่อตาม นโยบายประชาชนนิยมของรัฐบาลทักษิณนั้นมีลักษณะแตกต่างจากนโยบายประชาชนนิยม ของรัฐบาลอื่นๆ กล่าวคือ นโยบายของรัฐบาลทักษิณ เป็นนโยบาลที่ครอบคลุมในทุกๆด้านของสังคม และการใช้อาณาเขตทั้งประเทศเป็นพื้นที่ในการนำนโยบายไปใช้ เช่น นโยบายด้านการเกษตร ให้ความช่วยเหลือเรื่องการพักชำระหนี้ นโยบายด้านเศรษฐกิจจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งละ 1 ล้านบาท นโยบายสาธารณสุข รักษาทุกโรค 30 บาท เป็นต้น ในขณะที่นโยบายของรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์นั้นแม้จะใช้ฐานคิดทั่วไปประเทศในการประกาศใช้นโยบาย แต่นโยบายไม่ครอบคลุมในทุกๆด้าน มีเพียงนโยบายเงินผันเท่านั้นที่สร้างความรู้จักและจดจำแก่คนทั่วไป ขณะที่รัฐบาลพลเอกชวลิตกับโครงการอีสานเขียว มุ่งเน้นการหาเสียงในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของพรรคเท่านั้น การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายประชาชนนิยมของรัฐบาลทักษิณ มีจำนวนไม่น้อยที่สะท้อนออกสู่สังคมโดยผ่านสื่อมวลชนอย่างสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งถือเป็นบทบาททางการเมืองที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ ในการสนับสนุนนโยบายที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ หรือมีผลดีต่อประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานแก่รัฐบาล บางครั้งแนวทางที่หนังสือพิมพ์นำเสนออาจส่งผลให้รัฐบาลได้รับการยอมรับจากประชาชนให้ทำหน้าที่บริหารประเทศต่อไป ที่ผ่านมา การศึกษาวิจัยบทบาทของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อนโยบายของรัฐบาลยังปรากฏให้เห็นไม่มากนัก โดยเฉพาะนโยบายซึ่งเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างและส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายๆด้าน อย่างเช่น นโยบายประชาชนนิยม ขณะที่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนโยบายประชาชนนิยม ขณะที่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนโยบายประชาชนนิยมของนายกฯทักษิณฯ ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่บ้างนั้น ส่วนใหญ่ เป็นการศึกษาวิจัยในบริบทของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ส่วนการศึกษาวิจัยในบริบทของสื่อมวลชนอย่างหนังสือพิมพ์ที่มีต่อนโยบายดังกล่าวในสาขานิเทศศาสตร์ยังปรากฏให้เห็นไม่มากนัก ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาบทบาทางการเมืองของสื่อหนังสือพิมพ์ในการเสนอข่าวสารและความคิดเห็น เกี่ยวกับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ โดยจะศึกษาวาระข่าวสารและทิศทางเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ซึ่งรวมถึงการใช้พื้นที่สื่อหนังสือพิมพ์เป็นช่องสร้างการโฆษณาชวนเชื่อ และการถ่ายทอดอุดมการณ์ของรัฐบาลโดยมุ่งการศึกษาการนำเสนอนโยบายประชานิยมเปรียบเทียบในสมันรัฐบาลทักษิณ และหลังรัฐบาลทักษิณ และหลังรัฐบาลทักษิณ หรือรัฐบาลสุรยุทธ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติที่ทำรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ เป็นรัฐบาลที่มีจุดยืนแตกต่างจากรัฐบาลทักษิณตลอดจนศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเนื้อหาดังกล่าวด้วย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 71-95
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)