รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์ตัวบท รายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายก อภิสิทธิ์” ช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ปี พ.ศ.2553
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ณัฏฐวี ประยุกต์ศิลป์
2.พัชนี เชยจรรยา
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.รายการโทรทัศน์ -- ไทย
2.รายการโทรทัศน์ -- แง่สังคม -- วิจัย
3.รายการโทรทัศน์ -- การประเมิน -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ศึกษาวาทกรม การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์3ข้อ ดังนี้ 1.เพื่อค้นหาวาทกรรมความหมาย และกระบวนการสร้างวาทกรรมของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2553 2.เพื่อศึกษาวาทกรรมที่สะท้อนการใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ ช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2553 3.เพื่อศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของรายการเชื่อมั่นประทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ ช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ผลการวิจัยพบว่า 1. พบวาทกรรมจากรายการทั้งสิ้น 15 ประเภท ภายใต้การกำกับมาตรฐานความหมายของวาทกรรม3 ชุด คือ วาทกรรมชุดผู้รักษากฎหมาย,วาทกรรมชุดผู้ก่อการร้าย,วาทกรรมชุดผู้กระจายความสุขโดยแสดงอัตลักษณ์เชิงบวกของนายกอภิสิทธิ์ และภาพลักษณ์เชิงลบของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ส่งผลความสัมพันธ์ต่อผู้สร้างวาทกรรมกับประชาชน เพื่อนำไปสู่ความชอบธรรมต่ออำนาจการปกครองและทำลายความชอบธรรมของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง กระบวนการสร้างวาทกรรมของรายการแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างปฏิบัติการทางวาทกรรม และปฏิบัติการสังคมวัฒนธรรม ปฏิบัติการทางวาทกรรมทั้งกระบวนกาผลิต และกระบวนการบริโภค 2. การศึกษาพบการสร้างสารเพื่อโน้มน้าวใจโดยวิธีการใช้จุดจูงใจ และการอ้างเหตุผล ทั้งนี้เพื่อโน้มน้าวใจผู้รับสาร ให้เชื่อถือคล้อยตามสาระที่นำเสนอ ในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ พบว่ารายการนี้เป็นการโน้มน้าวใจ ประชาสัมพันธ์การทำงานของรัฐบาล พบเงื่อนไขการสำเร็จในการโน้มน้าวใจ คือ ความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ความแตกต่างในเนื้อหาความแตกต่างในช่องทางการสื่อสาร เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเชื่อถือคล้อยตามการดำเนินงานของรัฐบาลในการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง 3.จากการสัมภาษณ์ผู้รับสารที่เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน มีความคิดเห็นว่าในสถานการณ์ปกติ รายการนี้มีบทบาทในการให้ข้อมูลข่าวสาร การสอดส่องดูแลการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในสังคม แต่ช่วงความขัดแย้งทางการเมือง รายการนี้มีบทบาทชี้แจงสถานการณ์และไขข้อข้องใจของสังคมได้ แต่ขึ้นกับเนื้หาที่กล่าว แต่ด้านหนึ่งพบว่ารายการนี้อาจไปสร้างความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นเพราะนายก เป็นผู้ขัดแย้ง เลือกพูดในด้านที่เป็นประโยชน์แก่ตน และพูดถึงแต่ด้านลบของผู้ชุมนุม
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 54-69
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)