รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่อการให้บริการทางการศึกษาแก่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชาในสถานศึกษาตามแนวชายแดน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องรอง Educational Accomplishment as an Education service For LaoPeople’s Democratic Republic and Kingdom of Education Commission, Ubonratchathani Province
ชื่อผู้แต่ง
1.ยุตติชน บุญเพศ
2.สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การจัดการศึกษา -- การดำเนินงาน
2.ความร่วมมือทางการศึกษากับต่างประเทศ
3.ความร่วมมือทางการศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่อการให้บริการทางการศึกษาแก่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ในสถานศึกษาตรมแนวชายแดนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดอุบลราชธานีตามการับรู้และประเมนของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 2. เปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่อการให้บริการทางการศึกษาแก่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามแนวชายแดนให้เป็นแหล่งบริกาทางการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ตั้งอยู่ตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้านในพ้นที่จังหวัดอุบลราชธานีประจำปีการศึกษา2552 จำแนกผู้บริหารสถานศึกษา 43 คน ครูผู้สอน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย(x?) ส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน(SD) และการทดสอบค่าที t-(test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่อการให้บริการทางการศึกษาแก่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา โดยรวมยู่ในระดับปานกลางโดนด้านบุคลากรและด้านอาคารสถานที่อุปกรณ์การศึกษาอยู่ในระดับมาก ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านกฎระเบียบและด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปลานกลาง 2. ความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่อการให้บริการทางการศึกษาแก่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตมแนวชายแดนให้เป็นแหล่งบริการทางการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้านประกอบด้วย การดำเนินการตามขั้นตอนแบบ DAPPA และการกำหนดเป้าหมาย กิจกรรม ตัววัดชี้ความพร้อมทั้งด้านวิชาการ ด้านบุคลากรด้านงบประมาณ ด้านกฎระเบียบ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์การศึกษา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม
ปีที่ 8
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 73-84
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-2693
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)