รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ชุมชนกับการจัดการอุทกภัยปี พ.ศ.2554: กรณีศึกษา ชุมชนอยู่เจริญ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร (อยู่เจริญโมเดล)
|
ชื่อเรื่องรอง |
Community with flooding management in 2011: Case study Yu-Chareon community, Don Muang District, Bangkok
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | อุทกภัย -- การป้องกัน |
2. | อุทกภัย -- การป้องกันและควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยเรื่องชุมชนกับการจัดการอุทกภัยปี พ.ศ.2554: กรณีศึกษา ชุมชนอยู่เจริญ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร (อยู่เจริญโมเดล) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การสัมภาษณ์จากภาคีที่เกี่ยวข้อง 3 ภาคส่วน คือ ประธานชุมชนหรือผู้นำชุมชน ตัวแทนกรรมการชุมชน และตัวแทนของประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนอยู่เจริญเป็นชุมชนเขตเมือง ที่เป็นชุมชนของผู้มีรายได้ระดับปลานกลาง เป็นชุมชนที่ผู้อาศัยอพยพมาจากต่างจังหวัดทุกภูมิภาคเพื่อมาประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เป็นชุมชนที่มีความคล่องตัวสูงในการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชน เพราะวิถีชีวิตเดิมมีการเอื้ออาทร มีจิตอาสาสูง จึงเป็นต้นทุนที่สำคัญของชุมชน ดังนั้นการกอบกู้วิกฤตอุทกภัยจึงมีปัจจัยดังกว่านี้เป็นต้นทุนที่สำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ มีปัจจัยที่นำมาซึ่งความสำเร็จในการกอบกู้วิกฤตน้ำท่วม โดยมีปัจจัยหลักจาการมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งเป็นนักบริหารจัดการ ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือคนในชุมชนที่มีการศึกษาดี มีอาชีพหลากหลายที่นำมาช่วยพัฒนาชุมชนในภาวะวิกฤต การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนชุมชน การมีความสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาชนในชุมชน การมีเครือข่ายทางสังคมที่ดีทั้งภายในและภายนอกชุมชน ประชาชนในชุมชนมีรายได้ระดับปานกลางทำให้เกิดพลังกลุ่มได้ง่าย คณะกรรมการของชุมชนมีการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดรายได้ เพื่อเป็นทุนในการนำไปพัฒนาชุมชน นกจากนี้การมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมก็เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้การกอบกู้วิกฤตที่สามารถจัดการได้ดีด้วย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)