รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สถานการณ์เชื้อเพลิงฟอสซิลและศักยภาพพลังงานทดแทนในประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | เชื้อเพลิงฟอสซิล -- ไทย |
2. | เชื้อเพลิง |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้นโดยเฉพาะเชื้อเพลิงหลัก 3 ชนิด คือ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน การบริโภคน้ำมันดิบทั่วโลกปีละ
84, 077,000 บาร์เรล ก๊าซธรรมชาติปีละ 2,940.4 พันล้านลูกบาศก์เมตร และถ่านหินปีละ 3,278.3 ล้านตันเทียบเท่านำมันดิบ จากการบริโภคในปริมาณนี้คาดการณ์ว่าน้ำมันดิบจะหมดไปจากโลกในปี พ.ศ. 2582 ก๊าซธรรมชาติปีพ.ศ.2604 และถ่านหิน ปี พ.ศ.2760
สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เป็นหลัก ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ 4,505 ล้านลิตรต่อเดือน น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 350 ล้านลิตรต่อเดือนซึ่งแหล่งสำรองน้ำมันดิบในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละปี ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองในประเทศมี ปริมาณ 356 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ สามารถใช้ได้ พ.ศ 2562 ปริมาณถ่านหินสำรองในประเทศ มีปริมาณ
1,676 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ สามารถใช้ไปได้ถึง พ.ศ. 2602
เมื่อน้ำมัน ดิน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ในโลกและในประเทศหมดลง แหล่งพลังงานที่สำคัญที่ใช้ในประเทศ คือ พลังงานทดแทน ประกอบด้วย พลังงานชีวมวลของแข็ง พลังงานแสงอาทิตย์เชิงไฟฟ้าและความร้อน
พลังงานลม พลังงานน้ำ ขยะ เชื้อเพลิงชีวภาพของเหลว ก๊าซชีวภาพ และพลังงานความร้อนใต้ภิภพ ซึ่งหากมีการ
พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำเอาพลังงานทดแทนเหล่านี้มาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วจะสามารถแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ทั้งหมด
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)