รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารการพัฒนาชนบทด้วยวิธีการฝึกอบรมและการศึกษานอกโรงเรียน
|
ชื่อเรื่องรอง |
Routes to Change for Rural Development Administration by Offering a Training Course and Non-formal Education
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ไพบูลย์ โพธิ์หวังประสิทธิ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
2. | การพัฒนาชนบท |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษาเรื่องการพัฒนาสามารถแบ่งออกได้เป็น2 ทฤษฏีใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยความขาดแคลนและความต้องการ(Deprivation and Needs Theories) และทฤษฏีที่ว่าด้วยการกีดกัน (Exclusion Theories) เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารการพัฒนาชนบทด้วยวิธีการให้การฝึกอบรมและการศึกษานอกโรงเรียน พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของRoger (1994) เพื่ออธิบายเส้นทางอันเป้นกระบวนการที่นำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราว อันประกอบไปด้วย 3 เส้นทางย่อย คือ เส้นทางของระบบราชการ เส้นทางของเทคโนแครท (นักวิชาการหรือ NGOs) และเส้นทางของกลุ่มรณรงค์เพื่อการปฏิบัติ ในขณะที่อีกประเภทหนึ่ง คือ เส้นทางของการเปลี่ยนแปรงแบบถาวร อันประกอบไปด้วย 3 เส้นทางย่อยเช่นเดียวกัน คือ เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงชนิดที่ให้กลุ่มเป้าหมายได้ตัดสินใจก่อนที่จะให้การฝึกอบรมและการศึกษานอกระบบโรงเรียน เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงชนิดที่ให้กลุ่มเป้าหมายได้ตัดสินใจภายหลังจากที่ได้รับการฝึกอบรมและการศึกษานอกระบบโรงเรียนแล้ว และเส้นทางของการเปลี่ยนแปลงชนิดพลวัต โดย ไพบูลย์ โพธิ์หวังประสิทธ์ (2554) ได้พยายามอธิบายเส้นทางของกลุ่มรณรงค์เพื่อการปฏิบัติด้วยผลของการศึกษาวิจัยที่ไกลออกไปจาก Roger (1994) เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงดังที่ได้นำเสนอข้างต้นนี้ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางของการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาในชุมชนชนบทไทยในฐานะของการเป็นอาวุธหรือเครื่องมือของการพัฒนาได้อย่างดี เพื่อให้ชุมชนชนบทสามารถพึ่งพาได้ในที่สุด
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)