รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Names and Naming: Semiotic, Linguistic and Anthropological Perspectives
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | Nithat Boonpaisarnsatit |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ชื่อและการตั้งชื่อเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของทุกภาษาและวัฒนธรรม ชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้เรียกสิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวและมนุษย์มีรูปแบบการตั้งชื่อในวัฒนธรรมต่างๆ แตกต่างกันออกไป มีการศึกษาเรื่องชื่อและการตั้งชื่อใน เชิงวิชาการในหลายสาขาวิชาด้วยกัน โดยบทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับชื่อและการตั้งชื่อในมุมมองของสาขา วิชาสัญญวิทยา ภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยา ซึ่งพบว่านักสัญญวิยาศึกษาชื่อในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงภาษา ความคิดและวัตถุต่างๆ ในโลก มีการตั้งข้อสงเกตุว่าวัตถุหนึ่งอาจมีชื่อมากกว่าหนึ่งชื่อก็ได้ โดยคนเราจะเลือกใช้ชื่อที่เหมาะสมเพื่อสื่อสารกับบุคคลอื่น นักภาษาศาสตร์ศึกษาชื่อในแง่มุมทางไวยากรณ์และความหมาย นักภาษาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเห็นว่าชื่อควรจัดอยู่ในกลุ่มคำนาม ในขณะที่มีนักภาษาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าน่าจะแยกชื่อเป็นคำอีกประเภท หนึ่งต่างหากจากคำนาม ในด้านความหมายพบว่าชื่อมีทั้งในส่วนที่เป็นความหมายตรง(Denotative meaning) และความหมายแฝง (connotative meaning) ส่วนนักมานุษย์วิทยาศึกษาชื่อในฐานะทีเป็น
อัตตลักษณ์ของบุคคลและพบว่าชื่อได้ สะท้อนความหมายเชิงสังคมและวัฒนธรรมอย่างชัดเจนและแม้จะมีการศึกษาเรื่องชื่อและการตั้งชื่อในหลายมิติ แต่ยัง คงมีประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาเรื่องชื่อและการตั้งชื่ออีกหลายประเด็น เช่น ความกำกวมของชื่อ บทบาททางสังคมของชื่อต่างๆ และวัฒนธรรมการตั้งชื่อ เป็นต้น ผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับชื่อและการตั้งชื่ออาจนำเนื้อหาของบทความนี้ไปปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดทฤษฎีเพื่อการศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชื่อและการตั้งชื่อต่อไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)