รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง คุณภาพกำไรของบริษัทครอบครัวไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.สัจจวัฒน์ จันทร์หอม
2.ศิลปพร ศรีจั่นเพชร
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.กำไร
2.การบัญชีบริหาร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ต้องศึกษาว่า การเป็นบริษัทครอบครัวนั้นส่งผลต่อคุณภาพกำไรหรือไม่โดยใช้ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 327 บริษัทระหว่างปี พ.ศ.2551-2553 ผู้วิจัยได้ใช้ตัววัดของคุณภาพกำไร 4 มิติได้แก่ หนึ่ง เสถียรภาพของกำไร (Earnings Persistence) สองขนาดรายการคงค้างเกินปกติ (Abnormal Accruals) โดยใช้แบบจำลองของ Francis et al.(2005) เป็นตัววัดรายการคงค้างเกินปกติ สาม การรับรู้ขาดทุนอย่าทันเวลา (Timely Loss Recognition) และสี ความสามารถในการให้ข้อมูลของกำไร (Earnings In formativeness) ผลการศึกษาพบว่า การเป็นบริษัทครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับเสถียรภาพของกำไร ขนาดรายการคงค้างเกินปกติ และความสามารถในการให้ข้อมูลของกำไร แต่ทว่ากลับมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้ขาดทุนอย่างทันเวลาแทน ซึ่งหมายความว่า บริษัทครอบครัวรับรู้ขาดทุนช้าเกินกว่าหรือมีความระมัดระวังทางการบัญชีน้อยกว่าบริษัทที่ไม่ใช่ครอบครัว อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่า บริษัทครอบครัวมีคุณภาพกำไรต่ำกว่าบริษัทที่ไม่ใช่ครอบครัว ผู้วิจัยคาดว่าการที่ไม่พบความสัมพันธ์อาจมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจหรือธุรกิจที่แตกต่างกัน การที่บริษัทครองครัวมักรับรู้ขาดทุนช้ากว่านั้น อาจเกิดจากการที่ผู้ถือหุ้นครอบครัวต้องการหาตัวเลขผลประกอบการที่ดีมากกว่าคุณภาพของกำไร ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายย่อย ควรสนใจนโยบายบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ขาดทุนเป็นพิเศษ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 8
ฉบับที่ 21
หน้าที่ 78 - 88
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)