รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การรักษาผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในองค์การ : กรณีศึกษาข้าราชการพลเรือนสามัญ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | ประสบการณ์การทำงาน |
2. | การธำรงรักษาพนักงาน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ทรัพยากรมนุษย์ |
2. | ทรัพยากรมนุษย์--การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปััจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของผู้มีผลสัมฤทธิ์สู้ในองค์การ ระดับความผูกพันและความสัมพนธ์ของแต่ละปัจจัยกับความผูกพัน ตลอดจนศึกษาความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลแต่ละประเภทกับความผูกพัน กรณีศึกษาข้าราชการพลเรือนสามัฐที่เข้าร่วมโครงการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง(High Performance and Potential System : HIPPS) ทั้ง 5 รุ่นโดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 199 คน การเกฌ็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสบถาม วิเคราะห์ปละประมวลผลด้วยปรแกรมทางสถิติ (SPSS for Windows)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์การทั้ง 8 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันของผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงโดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ลักษณะงาน การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร รางวัลและผลตอบแทน ระบบราชการ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู็บังคับบัญชาและโอกาสที่ได้รับจากการทำาน รวมถึงค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินก็มีความสัมพันธ์กันและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับความผูกพัน
การศึกษาครั้งนี้ได้ค้นพบสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งว่า ช่วงอายุราชการ 7-9 ปี เป็นช่วงที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงมีความผูกพันต่อองค์การต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุราชการอื่น และผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกก็มีความผูกพันต่อองค์การต่ำสูงเช่นกัน เมื่อเทียบกับผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ส่วนคุณลักษณะส่วนบุคคลประเภทอื่นไม่มีความแตกต่างกัน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)