รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความเหมาะสมของการบัญชีต้นทุนรวมและการบัญชีต้นทุนผันแปรมาใช้ในการคำนวณต้นทุนของสินค้า
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.กฤติยา ยงวณิชย์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบัญชีต้นทุน
2.การบัญชี
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การคำนวณต้นทุนของสินค้าในกิจการผลิตทำได้ 2 ลักษณะ คือ การคำนวณต้นทุนของสินค้าตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวม (Absorption Costing หรือ Full Costing )และการบัญชีต้นทุนผันแปร (Variable Costing หรือ Direct Costing) ความแตกต่างของการบัญชีต้นทุนรวมและการบัญชีต้นทุนผันแปร คือ วิธีการบัญชีต้นทุนรวมนำค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่มาคำนวณเป็นต้นทุนประจำงวด (Period Cost) ความเหมาะสมของการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนของสินค้าที่ผลิตเสร็จตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวมนั้นเป็นข้อถกเถียงกันมานานแล้ว การบัญชีต้นทุนรวมเป็นวิธีการที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอกในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย แต่ในสภาพการดำเนินงานในปัจจุบันที่ค่าใช้จ่ายการผลิตกลายเป็นต้นทุนส่วนสำคัญในการผลิตสินค้าและการตกแต่งกำไรจนทำให้บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งในหลายประเทศทั่วโลกล้มละลาย ทำให้มีการเรียกร้องให้นำวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรมาใช้ในการจัดทำงบการเงินแทนวิธีการบัญชีต้นทุนรวม บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณต้นทุนของสินค้าแต่ละวิธีในอดีตและปัจจุบัน ติดตามพัฒนาการใหม่ๆ เกี่ยวกับวิธีการรายงานที่เกิดขึ้นรวมถึงประมินความเป็นไปได้ที่จะปรับเปลี่ยนการรายงานดังกล่าว
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 7
ฉบับที่ 20
หน้าที่ 66 - 75
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)