รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของมาตรฐานการบัญชีไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ศิลปพร ศรีจั่นเพชร |
2. | พิมพ์ใจ วีรศุทธากร |
3. | พจน์ วีรศุทธากร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี |
2. | การบัญชี -- มาตรฐาน -- ไทย -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
มาตรฐานการบัญชีของไทยในปัจจุบันจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ ทังในเรื่องการวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ และการนำเสนอรายการในงบการเงิน ตลอดจนมีมาตรฐานการบัญชีหลายฉบับที่มีผลบังคับใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เช่น TAS 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ซึ่งนำไปสู่วิธีปฏิบัติทางบัญชีใหม่ๆ หลายประการ เช่น การรับรู้สินทรัพย์ภาษาเงินได้รอการตัดบัญชีละหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี TAS 40เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนซึ่งก่อให้เกิดนิยามและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีเฉพาะสำหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่กิจการถือครองเพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่าหรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินทรัพย์ และ TFRS 6 เรื่อง การสำรวจและการประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ ที่กำหนดให้กิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่เกิดจากการสำรวจและประเมินค่า โดยใช้ราคาทุนเมื่อรับรู้รายการดังกล่าว ซึ่งในการวัดข้อมูลภายหลังการรับรู้รายการนั้น กิจการสามารถใช้วิธีราคาทุน หรือวิธีการตีราคาใหม่ในการวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่เกิดจากการสำรวจและประเมินค่า
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)