รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
อาเซียน : ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจและความท้าทาย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | อาเซียน--การเตรียมความพร้อม. |
2. | อาเซียน--การแข่งขันธุรกิจ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประชาคมอาเซียน. |
2. | ประชาคมอาเซียน--ภาวะเศรษฐกิจ |
3. | ประชาคมอาเซียน--ความสามารถในการแข่งขัน |
4. | ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
นับจากจุดเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ.1967 สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียจะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nation: ASEAN) เป็นกลุ่มความร่วมมือกลุ่มหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่มีความเข้มแข็งแม้ว่าเริ่มแรกอาเซียนจะให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันอาเซียนตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นทางด้านเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2007 กลุ่มประเทศผู้นำอาเซียนได้ตกลงร่วมกันในการเร่งให้เกิดประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมวัฒนธรรมอาเซียน ในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจมีจุดมุ่งหมายทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมกันเป็นตลาดเดียวเพื่อสนุบสนุนการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ ประชากร และทุนภายในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี
บทความนี้วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มอาเซียน 3 ขั้นตอน ขั้นแรกเป็นการวางกรอบทางทฤษฎีเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันเพื่อเป็นการสร้างกรอบแนวคิดพื้นฐานของบทความ ส่วที่สองเป็นการประเมินความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามดัชนีที่สะท้อนในรายงานความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Report: GCR) และส่วนสุดท้ายของบทความคือการประเมินความท้าทายหลักที่ประเทศอาเซียนต้องเผชิญโดยเน้นพิจารณาจากบทบาทของการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Outward FDI) และการรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Inward FDI) เนื่องจากการลงทุนโดนตรงในต่างประเทศเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันตัวหนึ่ง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)