รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินข้อมูลอนุพัทธ์ดาวเทียมเพื่อการทำแผนที่ไฟป่า
|
ชื่อเรื่องรอง |
Evaluating Satellite – Derived Data for Mapping Wildfire Area
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ศันสนีย์ มณีโชติ |
2. | ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ |
3. | ธงชัย จารุพพัฒน์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
2. | ไฟป่า |
3. | ดาวเทียม -- ข้อมูล -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ไฟป่ามีผลกระทบต่อระบบนิเวศความหลากหลายของพืชพรรณในป่า รวมถึงสิ่งแวดล้อมอื่น การประเมินพื้นที่เกิดไฟป่าและการจำแนกความรุนแรงของไฟป่าในพื้นที่กว้างขวางในช่วงหลังไฟป่าและค่าดัชนีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเกิดไฟป่า ทำให้เข้าใจผลของไฟป่าต่อการขึ้นทดแทนของพันธ์พืชและการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินดัชนีเชิงสเปกตรัมของข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมสำหรับการทำแผนที่ความรุนแรงของการเกิดไฟป่าและค่าดัชนีความแตกต่างทั้งก่อนและหลังเกิดไฟป่า พื้นที่ศึกษาคือบริเวณเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และครอบคลุมพื้นที่ 897ตารางกิโลเมตร การศึกษาครั้งนี้ได้ประเมินดัชนีสเปกตรัมทั้งหมด 11 ดัชนี ประกอบด้วย ดัชนีเชิงเดี่ยว(Single bands) อัตราส่วนของช่วงคลื่น (Bans Ratios) และผลบวกเชิงเส้นของช่วงคลื่น (Linear Combination) ความน่าเชื่อถือขอผลการศึกษาที่ได้รับนั้นถูกนำมาทดสอบด้วยการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละดัชนีและข้อมูลภาคสนาม ตำแหน่งความรุนแรงของไฟป่าบริเวณเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวงใช้อัตราส่วนของการเผาไหม้ (Normalized Burn Ratio: NBR) คิดเป็นร้อยละ 40.75 30.16 28.98 และ 0.11 ของพื้นที่ทั้งหมดสำหรับบริเวณที่ไม่มีความรุนแรงของไฟป่า ความรุนแรงของไฟป่าต่ำ ความรุนแรงของไฟป่าปานกลาง และความรุนแรงของไฟป่าสูงตามลำดับ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)