รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการศึกษาการใช้ทิ่ดินบนพื้นที่ภูเขาในจังหวัดสงขลา
|
ชื่อเรื่องรอง |
Application of Geo-Informatics to study Land Use on Mountainous Area in Songkhla Province
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พีระพิทย์ พืชมงคล ยงเฉลิมชัย |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การใช้ที่ดิน -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล -- ไทย -- สงขลา |
2. | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ที่ดินบนพื้นที่ภูเขาในระดับความสูงต่างๆ ความเหมาะสมของการใช้ที่ดิน และผลกระทบที่เกิดจากการใช้ที่ดินในจังหวัดสงขลา โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม ความสูงของภูมิประเทศ และการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ พบว่าการใช้ที่ดินบนพื้นที่ภูเขามีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ป่าไม้ ที่อยู่อาศัยเหมืองแร่ การขุดหน้าดิน อ่างเก็บน้ำ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ การใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางพารา ซึ่งมีจำนวน 700, 456 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60.80 ของพื้นที่ มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน
435, 084 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 37.77 ของพื้นที่ จากการจำแนกการใช้ที่ดินตามชั้นความสูงช่วงชั้น 100 เมตร พบว่ามีการปลูกยางพาราตั้งแต่ระดับความสูง 100-800 เมตร ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าไม้ เป็นการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดโอการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้บนพื้นที่ภูเขามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่ระดับความสูงมากกว่า 800 เมตร มีพื้นที่ป่าไม้เพียงอย่างเดียว จากการใช้ที่ดินบนพื้นที่ภูเขาก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและแผ่นดินถล่ม ซึ่งพื้นที่ภูเขาในจังหวัดสงขลามีพื้นที่ที่เกิดการชะล้างพังทลายของดิน 1,144,418 ไร่ และพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม 936,087 ไร่
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)