รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Application of Geoinformations Technology to Determining Areas at Risk of Encroachent of Agriculture on Forest Reserve in Phu Luang Wildlife Sanctuary, Loei Province
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ภัทรพร พิมดี |
2. | รัศมี สุวรรณวีระกำธร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ภูมิสารสนเทศ |
2. | ป่าไม้ -- ไทย -- เลย |
3. | การบุกรุก -- ไทย -- เลย |
4. | เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล |
5. | การใช้ที่ดิน -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล -- ไทย -- เลย |
6. | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
จากการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้มีความต้องการขยายพื้นที่ทำกิน และก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวงจะมีการควบคุมและบังคับใช้มาตรการป้องกันเพื่อลดการบุกรุกป่าไม้อย่างเคร่งครัด แต่การยึดครองพื้นที่ทำกินที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายยังคงก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายช่วงเวลาเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมจากปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจและ
สังคม พื้นที่ศึกษา คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวงและระยะกันชน 2 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1, 299 ตารางกิโลเมตร ของจังหวัดเลยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม LANSAT 4 ช่วงเวลา ในปี พ.ศ. 2537, 2541, 2544, 2548 และภาพถ่ายดาวเทียม THEOS 2 ช่วงเวลา ในปี พ.ศ. 2553 ถูกนำมาใช้ผลิตแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินหลายช่วงเวลาในพื้นที่ศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมเบื้องต้นเริ่มจากการปรับแก้ความถูกต้องของพิกัดตำแหน่ง การเน้นและการเชื่อมต่อข้อมูลภาพ แล้วทำการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินโดยแปลตีความภาพถ่ายสีผสมเท็จ แผนที่การใช้ที่ดินหลายช่วงเวลา ถูกนำมาซ้อนทับกันโดยระบบสารสนเทศภูมิสาสตร์ เพื่อทำการวิเคราะห์การ
เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิเคราะห์น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยกายภาพ(ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน ระยะห่างจากทางน้ำ ความสูงจากระดับนำทะเลปานกลาง และความลาดเอียงของพื้นที่) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงของปัจจัย (BRF) และความสอดคล้องของข้อมูล (CV) ค่าน้ำหนักของ (CV) ที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นทีเกษตรกรรมด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักแบบง่าย (SAW) ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ว่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ถือครองด้านเกษตรกรรมจากการเก็บข้อมูลของครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ด้วยสมการการถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษา พบว่า มีพื้นที่ป่าไม้ 51.55, 47.47, 46.75, 45 .67 และ 45.04 % ในปี 2537
, 2541, 2544, 2548, และ 2553 ตามลำดับ พื้นที่เสี่ยงต่อ การบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกร รวมคิดเป็น 23.49, 26.30, 30.15, 11.80 และ 8.26 % ตามลำดับ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ถือครองด้านเกษตรกรรม ได้แก่ อาชีพหลัก(X2) รายได้สุทธิมากกว่า 60,000 บาท/ปี (X7) เอกสารสิทธิถือครอง (X10) และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้(X13) ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ใน การจัดการและสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวงและพื้นที่อื่นๆ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)