รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาและบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อการบริหารจัดการพิบัติภัยดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลากอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี ภาคตะวันตกของประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Integration and Development of Spatial Data for Community Participation in Landslide and Flash Flood Hazard Management inn Huay Thap Sa Lao Sup-Watershed, Changwat Uthai ,Westherm
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ธีรภัณฑ์ กี้ประเสริฐทรัพย์ |
2. | วีระศักดิ์ อุดมโชค |
3. | สมบัติ อยู่เมือง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การสำรวจข้อมูลระยะไกล |
2. | ภัยพิบัติ -- การป้องกัน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวมองค์ความรู้ และบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ในการจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์พื้นที่ที่เคยเกิดพิบัติภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก และพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพิบัติภัย พร้อมหาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อป้องกัน และบรรเทาพิบัติภัยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับเสลาจังหวัดอุทัยธานี โดยใช้วิธีการทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสำรวจระยะไกล และความน่าจะเป็นในการอธิบาย ถึงความสัมพันธ์ทางกายภาพของพื้นที่ร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในลักษณะข้อเท็จจริงที่เคยเกิดขึ้นของพิบัติภัย เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพิบัติภัย ร่วมกับการใช้แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุดเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มคนโดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งแบบสอบถามชุดแรก สอบถามกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 เขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 75 จังหวัด ทั้งสิ้น 139 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ในภาพรวม และสอบถามชุดที่ 2 สอบถามกับกลุ่มคนในพื้นที่ศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 200 คน ในสาขาอาชีพต่างๆ โดยการจัดส่งทางไปรษณีย์ และมีผู้ตอบกลับมาจำนวน 59 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในระดับพื้นที่ โดยผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่เคยเกิดพิบัติภัย ช่วงปี พ.ศ2545 ถึง พ.ศ. 2550 โดยวิธีประมวลผลการเปลี่ยนแปลงทางภาพ
(change detection image processing) คิดเป็นพื้นที่ 19.01 ตารางกิโลเมตรหรือร้อยละ 1.97 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากกลุ่มคนในพื้นที่ศึกษาถึงพื้นที่ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และได้นำพื้นที่ที่เคยเกิดมาวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงในระดับที่ละเอียดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการ Landslide and Flash flood Susceptibility Index (LFSI) เพื่อกำหนดระดับความเสี่ยงจากผลรวมตัวเลขของค่าปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์โดยแบ่งเป็นช่วง เท่าๆกันที่ 5 ระดับ คือ เสี่ยงสูงมาก เสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงเล็กน้อย และไม่มีความเสี่ยง คิดเป็นพื้นที่ 0.0018, 76.5, 228.44, 254.42 และ404.82 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับพร้อมแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกัน และบรรเทา พิบัติภัยดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)