รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์พลังงาน: กรณีศึกษาโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
|
ชื่อเรื่องรอง |
A participatory action research for energy conservation model: a case study of benchamarachutis school chanthaburi province
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | นงนุช อสัมภินวงศ์ |
2. | สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การอนุรักษ์พลังงาน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
2. | การอนุรักษ์พลังงาน -- กิจกรรมการเรียนการสอน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรีและเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียน โดยใช้ เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research: PAR) ตามแนวคิดของ เคมมิสและเมคเทกการ์ท(Kemmis & McTaggart, 1988) บูรณาการกับแนวคิดของซูเปอร์และสเคอร์ริท (Zuber & Skerritt,1992) กระบวนการวิจัยมี 5 ขั้นตอนคือ 1) เตรียมการวิจัย 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 3) วางแผนพัฒนา 4) นำแผนไปสู่การปฏิบัติ 5) ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนา โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่มาจากผู้แทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียน ประกอบด้วยฝ่ายบริหาร 1 คน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระละ1คน รวม 8 คน หัวหน้าระดับชั้นชั้นละ 1 คน รวม 6 คน ผู้แทนผู้ปกครอง 6 คน ผู้แทนนักเรียน 6 คน คนขับรถ 1 คน นักการภารโรง 2 คน รวมทั้งหมด 30 คน สนามการวิจัยคือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย 1) การสร้างทีมงานการมีส่วนร่วม 2) การศึกษาความต้องการจำเป็น 3) การร่างโครงการ/กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียน การบูรณาการสอดแทรก การประหยัดพลังงานในบทเรียน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในบทเรียน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน 4) การทดลองใช้และการปรับปรุงโครงการ/กิจกรรม PAOR ประสิทธิภาพของรูปแบบ การอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียน พบว่า ผลการดำเนินงานทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคลดลง เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินการ บุคลากรในโรงเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานไปในทางที่ดีขึ้น คือ มีความตระหนักความรับผิดชอบ มีการเรียนรู้ร่วมกัน เสียสละ มั่นใจในตนเอง ริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก มีภาวะผู้นำ ผู้ตาม และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน โดนทุกกระบวนการเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้การอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียนมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)