รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินการศึกษาไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | กัญจน์ชญาน์ สรรเสริญ |
2. | วสันต์ ทองไทย |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ศึกษาศาสตร์ |
2. | ครุศาสตร์ -- หลักสูตร |
3. | การประเมินหลักสูตร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยแลประเมินผลการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2545 ) ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน 3 ด้าน คือ ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของหลักสูตร กลุ่มประชากรเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา 2546-2549 จำนวน 14 คน ผู้บังคับบัญชาของมหาบัณฑิต จำนวน 12 คน และนิสิตปัจจุบัน จำนวน 27 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เพิ่มเติมและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ และค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นว่าความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ 1. ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและโครงสร้างของหลักสูตรมีความเหมาะสมดี เนื้อหาวิชาของหลักสูตรเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ซ้ำซ้อน ครอบคลุมด้านวิจัย วัดผลประเมินผล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ควรเพิ่มจำนวนหน่วยกิตในบางรายวิชา และเปิดวิชาเอกเลือกเพิ่มขึ้น 2. ด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมดี สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จนบรรลุวัตถุประสงค์ แต่ควรเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณะ และให้นิสิตได้มีโอกาสฝึกประสบการณ์การวิจัยจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ การดำเนินงานของสาขาและภาควิชามีความเหมาะสมดีโดยเฉพาะเรื่องการปฐมนิเทศ และควรเพิ่มจำนวนอาจารย์ผู้สอนให้มากขึ้น การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมดีเพราะใช้วิธีการวัดที่หลากหลายเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาผู้เรียน 3. ด้านผลผลิตของหลักสูตร ทั้งคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะเฉพาะด้านความรู้ความสามารถของมหาบัณฑิต พบว่าเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานหรือสถานศึกษาว่า เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิจัยวัดผลและประเมินผล
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)